วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ศัพท์คอมพิวเตอรหมวด..A

ศัพท์คอมพิวเตอรหมวด..A


A
หมายถึง :
ในระบบการทำงานของ MS-DOS และ ของ OS/2 เป็น ช่องดิสก์ไดร้ว์ช่องแรก และใช้เป็นช่องดิกส์ไดร้ว์ สำหรับตรวจการเริ่มต้นคำสั่งการทำงานเป็นครั้งแรก
--------------------------------------------------------------------------------

abort
หมายถึง :
การไม่ทำงานของเครื่องโดยมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
--------------------------------------------------------------------------------

AC
หมายถึง :
กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นอักษรย่อของคำเต็มว่า alternating current
--------------------------------------------------------------------------------

access
หมายถึง :
เข้าถึง, บอกตำแหน่ง, การอ่านหน่วยความจำ,และทำให้พร้อมที่จะนำมาใช้งาน คำว่า access ใช้กับการเข้าสู่แผ่นดิสก์, แฟ้มข้อมูล, ระเบียนและเครือข่ายต่างๆ
--------------------------------------------------------------------------------

accessory
หมายถึง :
อุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติมสำหรับคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม เมาส์ เป็นต้น บางครั้งเรียกว่า อุปกรณ์ประกอบภายนอก (peripheral) อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยทำหน้าที่ต่างๆ ซึ่ง อุปกรณ์เดิมของคอมพิวเตอร์ไม่มีและไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านี้
--------------------------------------------------------------------------------

active
หมายถึง :
เป็นคำ adjective ขยายโปรแกรม , เอกสาร, เครื่องมือต่างๆ หรือส่วนของหน้าจอภาพที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ หมายถึงโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ เอกสารที่กำลังใช้อยู่ หรือเครื่องมือที่กำลังถูกใช้งาน เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------

actvie cell
หมายถึง :
ในโปรแกรม spreadsheet เซลล์ซึ่งกำลังถูกใช้ทำกิจกรรม เซลที่กำลังถูกใช้จะมีแถบสว่างขึ้นบนหน้าจอภาพเซลแต่ละเซลจะถูกกำหนดโดย แถว (row) และคอลัมน์ (column) ดูเพิ่มเติม cell , row, column
--------------------------------------------------------------------------------

active file
หมายถึง :
แฟ้มข้อมูลที่กำลังใช้งาน
--------------------------------------------------------------------------------

active program
หมายถึง :
โปรแกรมที่กำลังใช้ควบคุมการทำงานของไมโครโพรเซสเซอร์
--------------------------------------------------------------------------------

active window
หมายถึง :
ในสถานการณ์ที่จอภาพถูกแบ่งออกเป็นหลายวินโด หมายถึง วินโดที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ โดยที่เคอร์เซอร์ก็ดี คำสั่งก็ดี กำลังปฏิบัติงานอยู่บนวินโดนี้
--------------------------------------------------------------------------------

Ada
หมายถึง :
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่เรียกว่า procedural programming language ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ชื่อของโปรแกรมตั้งตามชื่อของผู้บุกเบิกเรื่องคอมพิวเตอร์ คือ ออกกุสตา เอดา ไบรอน เคาน์เตสแห่งเลิฟเลส (Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace)
--------------------------------------------------------------------------------

adapter
หมายถึง :
ใน pc หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM และ IBM clone หมายถึง แผ่นวงจรสำเร็จชนิดหนึ่ง (มักเรียกว่า interface card) ซึ่งสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ใช้อุปกรณ์ประกอบภายนอก (peripheral) ซึ่งไม่สามารถจะต่อเชื่อมโยงเข้ากับวงจรคอมพิวเตอร์ได้ adapter มักจะถูกนำมาใช้ในการ upgrade คอมพิวเตอร์ หรือ นำมาใช้เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์อย่างใหม่ด้วย
--------------------------------------------------------------------------------

address
หมายถึง :
สังกัด, ตำแหน่งที่อยู่ของคลังข้อมูลในคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป คลังข้อมูลแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งที่อยู่ของระบบ หน่วยความจำอาจเป็น 0, 1, 2, 3 ฯลฯ
--------------------------------------------------------------------------------

ALGOL
หมายถึง :
เป็นคำย่อของ Algorithmic Language ภาษา procedural programming language ภาษาแรกซึ่งพัฒนาขึ้นมาระหว่างปี พ.ศ. 2500 - 2503 โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากเดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนี ฮอลแลนด์ สวิส และสหรัฐอเมริกา ภาษา ALGOL เป็นภาษาโปรแกรมที่มีส่วนสำคัญ และมีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ เป็นอันมากในด้านการออกแบบ และการพัฒนา เพราะภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทางด้านโครงสร้างขอบเขต และการเก็บข้อมูลและอื่นๆ จากภาษานี้
--------------------------------------------------------------------------------

algorithm
หมายถึง :
เป็นวิธีการ และขั้นตอนของการควบคุมการปฏิบัติงานตามหน้าที่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง algorithm เช่น เครื่องปรุงอาหาร ในหนังสือวิธีทำกับข้าว จัดว่าเป็น algorithm ได้อย่างหนึ่ง กล่าวคือ จะบอกวิธีว่า แกงชนิดนั้นมีเครื่องปรุงอะไรบ้าง และมีวิธีปรุงอย่างไร ใส่อะไรก่อน อะไรหลัง เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------

alphanumeric
หมายถึง :
มีทั้งตัวเลขและตัวอักษร (alpha = ตัวอักษร; numeric = ตัวเลข) ในเครื่องมืออย่างหนึ่งอาจแสดงให้ปรากฎได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร เช่น alphanumeric display terminal เป็นสถานีปลายสายที่สามารถแสดงตัวอักษร ตัวเลจ และเครื่องหมายต่างๆ ได้ (แต่ไม่สามารถแสดงกราฟฟิค หรือรูปภาพ และลายเส้นต่างๆ ได้) เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------

Alt key
หมายถึง :
เป็นคีย์แป้นหนึ่งบนแป้นพิมพ์ของเครื่อง IBM PC และ IBM clone ทั้งหลาย เมื่อกดแป้น Alt ร่วมกับแป้นคีย์อื่นๆ จะทำให้แป้นคีย์นั้นให้ผลงานอย่างตรงกันข้ามกับการกดลำพังเฉพาะแป้นนั้น ในโปรแกรมปฏิบัติการหลายโปรแกรม เมื่อกดแป้น Alt ร่วมกับแป้นอื่นๆ อาจทำให้เกิดการปฏิบัติการหน้าที่อื่นๆ ขึ้น เช่น กด Alt-H เป็นการเรียก กิจลักษณ์ help เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------

analog
หมายถึง :
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางกายภาพที่ต่อเนื่องกันไป เช่น การเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าขึ้น-ลงในวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------

analog computer
หมายถึง :
คอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งซึ่งประมวลผลข้อมูลที่มีค่าแปรผันต่อเนื่องกันไป เช่น ประมวลผลการขึ้นๆ ลงๆ ของแรงดันไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เป็นต้น อนาล็อกคอมพิวเตอร์ ถูกนำมาใช้งานทางด้านปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
--------------------------------------------------------------------------------

analog-to-digital converter
หมายถึง :
เครื่องมือสำหรับแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เรียกว่า A-D converter หรือ ADC
--------------------------------------------------------------------------------

animation
หมายถึง :
การสร้างภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ
--------------------------------------------------------------------------------

ANSI
หมายถึง :
(อ่านว่า แอนซี) เป็นคำย่อของ American National Standard Institute ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรทางด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจของอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานทางด้านการ ค้าขายและการติดต่อสื่อสาร และมีผู้แทนของสหรัฐอเมริกาอยู่ในองค์การสหประชาชาติเพื่อดูแลมาตรฐานนี้
--------------------------------------------------------------------------------

append
หมายถึง :
แปลว่า ผนวกหรือเพิ่มเติมเข้ากับ ใช้ในการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปในแฟ้มข้อมูลในตอนสุดท้าย หรือหมายถึงการเพิ่มเติมตัวอักษรเข้าไปท้ายแถวของตัวอักษร
--------------------------------------------------------------------------------

Apple key
หมายถึง :
แป้นคีย์บนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์แอปเปิล ซึ่งบนแป้นนั้นมีรูปเครื่องหมายลูกแอปเปิลถูกแมลงกัดแหว่งไปข้างหนึ่ง แป้นนี้เป็นแป้นเพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษ ใช้เป็นแป้นคำสั่ง (Command key) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับแป้น Control key ของแป้นพิมพ์ IBM
--------------------------------------------------------------------------------

application software
หมายถึง :
โปรแกรมปฏิบัติการ เป็นโปรแกรม หรือซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่แทนคนในด้านใดด้านหนึ่ง โปรแกรมปฏิบัติการแตกต่างจาก operating system ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ; ซอฟแวร์ปฏิบัติการ
--------------------------------------------------------------------------------

arithmetic logic unit
หมายถึง :
มักเรียกเป็นคำย่อว่า ALU เป็นวงจรของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่คิดคำนวณ เปรียบเทียบและทำหน้าที่ทางตรรกะ คือหน้าที่ที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน ALU เป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่อยู่ในชิพไมโครโพรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์
--------------------------------------------------------------------------------

array
หมายถึง :
รายการของค่าของข้อมูลในการทำโปรแกรมทุกประเภท
--------------------------------------------------------------------------------

arrow key
หมายถึง :
แป้นคีย์ที่มีรูปลูกศรอยู่ข้างบนชุดหนึ่งมี 4 แป้น คือ แป้นที่มีลูกศรชีขึ้น ชี้ลง ชี้ไปทางซ้าย และชี้ไปทางขวาเอกดแป้นเหล่านี้จะทำให้เคอร์เซอร์เลื่อนไปตามทิศทางของลูกศรบนแป้น
--------------------------------------------------------------------------------

artificiai intelligence
หมายถึง :
มักใช้คำย่อว่า AI เป็นวิชาการทางคอมพิวเตอร์สาขาหนึ่ง มีเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้โดยที่สามารถคิดเองได้จำได้และตอบสนองโดยใช้สติปัญญาของมันเอง สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ของมันเองได้และสามารถหาเหตุผลจากข้อมูลที่ได้รับได้ นั่นคือ มันจากต้องสามารถเข้าใจวิที่การคิดของสิ่งมีชีวิตและหาทางที่จะใช้ความคิดแก้ปัญหาที่คล้ายๆกันได้ลักษณะของ artificiai intelligence ที่อาจมีได้ในคอมพิวเตอร์ เช่น การเล่นหมากรุก การจดจำคำพูดและการแปลเป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------

ascender
หมายถึง :
ส่วนหางของตัวอักษรที่สูงขึ้นไปกว่าบรรทัดในภาษาอังกฤษเมื่อเขียนตัวพิมพ์เล็กมีอักษรหลายตัวต้องเขียนเขียนให้ส่วนของตัวอักษรสูงเลยบรรทัดขึ้นไป เช่น h t b d เป็นต้น ส่วนที่สูงขึ้นไปนั้นเรียกว่า ascenderd ส่วนที่อยู่ในบรรทัด เรียกว่า x-height
--------------------------------------------------------------------------------

ASCLL
หมายถึง :
(อ่านว่า แอสคี) เป็นคำย่อของคำว่า American Standard Code for Information Interchange หมายถึง ตัวเลข ตัวอักษร เครื่องหมาย ต่างๆ ในภาษา รวมทั้งเครื่องหมายวรรคตอนอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้กำหนดลงไว้เป็นมาตรฐานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ใช้เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสาร กันได้รหัส ASCLL มีทั้งหมด 256 รหัส แบ่งออกเป็น 2 ชุด คือชุดรหัสมาตรฐาน และชุดรหัสเพิ่มเติม แต่ละชุดมี 128 รหัส
--------------------------------------------------------------------------------

ASCLL character set
หมายถึง :
เป็นรหัส 7 บิทมาตรฐาน สำหรับแทนตัวอักษรได้แก่ ตัวหนังสือ ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และคำสั่งสำหรับควบคุมด้วยค่าของเลขฐาน 2 (binary value) ค่าของรหัสเริ่มจาก 0 ถึง 127
--------------------------------------------------------------------------------

assembler
หมายถึง :
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้สำหรับเปลี่ยนภาษาแอสเซมบลีซึ่งคนอ่านได้ให้เป็นภาษาเครื่อง
--------------------------------------------------------------------------------

assembly language
หมายถึง :
ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาระดับต่ำ (low-level programming language) ประโยคของภาษาแอสเซมบลีแต่ละประโยคจะตอบสนอง โดยตรงต่อคำสั่ง แต่ละคำสั่งของภาษาเครื่อง ดังนั้ ภาษาแอสเซมบลี จึงเป็นภาษาของโปรเซสเซอร์ตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อเขียนโปรแกรมใดๆ ด้วยภาษาแอสเซมบลีขึ้นมา นักเรียนโปรแกรมจะต้องกำหนดตัวโปรเซสเซอร์ โดยเฉพาะที่จะทำการแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นรหัสภาษาเครื่อง
--------------------------------------------------------------------------------

asterisk
หมายถึง :
เครื่องหมายดอกจัน ( * ) เครื่องหมายดอกจันมีใช้อยู่ในระบบปฏิบัติการและระบบโปรแกรมโดยทั่วไปในความหมายว่า คูณ (x) เช่น 4*5 หมายความว่า 4x5 เป็นต้น ใน MS-DOS, OS/2 และใน operating system อื่นๆ เครื่องหมายดอกจันเป็น wilecard อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้ในด้านต่างๆ เช่น * * หมายความว่า เป็นการรวมกลุ่มชื่อแฟ้มข้อมูลและแฟ้มข้อมูลเพิ่มเติม
--------------------------------------------------------------------------------

asynchronous device
หมายถึง :
เครื่องมือสำหรับทำให้ระบบการทำงานภายในของระบบประสานสัมพันธ์กันกับ asynchronous operation
--------------------------------------------------------------------------------

asynchronous operation
หมายถึง :
การทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดี
--------------------------------------------------------------------------------

audio
หมายถึง :
เกี่ยวกับคลื่นความถี่ซึ่งสามารถรับฟังได้โดยหูของมนุษย์ นั่นคือความถี่ของคลื่นตั้งแต่ 15 hertz ถึง 20,000 hertz หรือ 15 - 20,000 รอบต่อวินาที
--------------------------------------------------------------------------------

AUTOEXE.BAT
หมายถึง :
ชุดของคำสั่งหรือ batch file ชนิดหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่ง MS - DOS operating system สร้างขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน หรือทำไปแล้วหยุดแล้วเริ่มทำอีก
--------------------------------------------------------------------------------

automated office
หมายถึง :
สำนักงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรคมนาคม และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกอย่างอื่นๆ ในการปฏิบัติงาน
--------------------------------------------------------------------------------

autosave
หมายถึง :
กิจลักษณ์ในโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เก็บรักษา (save) แฟ้มข้อมูลที่กำลังเปิดอยู่เข้าสู่ดิสก์ หรือเข้าสู่คลังเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ
--------------------------------------------------------------------------------

Altair 8800
หมายถึง :
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2518 โดยบริษัท Micro Instrumentation Telemetry System แห่ง New Mexico เป็นคอมพิวเตอร์ขนาด 8-bit ใช้ Intel 8080 micro processor และมีขนาดหน่วยความจำ 256 ไบต์ จัดว่า Altair เป็น PC หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดแรก
--------------------------------------------------------------------------------

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)

ในปัจจุบันมีหน่วยเก็บข้อมูลให้เลือกใช้หลายชนิด ดังต่อไปนี้

เทป (Tape)
เทปแม่เหล็ก (Megnetic Tape)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้กันมานานตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งและยุคที่สอง ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (play) และบันทัก (record) เป็นการอ่าน (read) และเขียน (write) แทน ในเครื่องเมนเฟรมเทปที่ใช้จะเป็นแบบม้วนเทป (reel-to-reel) ซึ่งเป็นวงล้อขนาดใหญ่ ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้คาร์ทริดจ์เทป (cartidege tape) ซึ่งมีลักษณะคล้ายวีดีโอเทป ส่วนในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะใช้ตลับเทป (cassette tape) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเทปเพลง เทปทุกชนิดที่กล่าวมามีหลักการทำงานคล้ายกับเทปบันทึกเสียง คือจะอ่านข้อมูลตามลำดับก่อนหลังตามที่ได้บันทึกไว้ เรียกหลักการนี้ว่าการอ่านข้อมูลแบบลำดับ (sequential access) การทำงานลักษณะนี้จึงเป็นข้อเสียของการใช้เทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูล คือทำให้อ่านข้อมูลได้ช้า เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลในม้วนเทปไปเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งที่ต้องการ ผู้ใช้จึงนิยมนำเทปแม่เหล็กมาสำรองข้อมูลเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่กำลังใช้งานจะถูกเก็บอยู่บนหน่วยเก็บข้อมูลแบบ จานแม่เหล็ก (Megnetic Disk) เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย และนำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและไม่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ มา เก็บสำรอง (back up) ไว้ในเทปแม่เหล็ก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล

ข้อดีของเทปแม่เหล็กคือสามารถบันทุก อ่านและลบกี่ครั้งก็ได้ รวมทั้งมีราคาต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในสื่อที่มีขนาดใหญ่มากนัก ความจุของเทปแม่เหล็กจะมีหน่วยเป็น ไบต์ต่อนิ้ว (byte per inch) หรือ บีพีไอ (bpi) ซึ่งหมายถึงจำนวนตัวอักษรที่เก็บได้ในเทปยาวหนึ่งนิ้ว หรือเรียกได้อีกอย่างว่าความหนาแน่นของเทปแม่เหล็ก เทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นต่ำ จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 1,600 บีพีไอ ส่วนเทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นสูง จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 6,250 บีพีไอ นอกจากนี้ จะมีเทปแม่เหล็กรุ่นใหม่ ๆ คือ DAT (Digital Audio Tape) ซึ่งขนาดใหญ่กว่าเครดิตการ์ดเล็กน้อย แต่สามารถจุข้อมูลได้ 2 - 5 จิกะไบต์และ R-DATs ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 14 จิกะไบต์ บนเทปที่ยาว 90 เมตร



(ก) ม้วนเทป (ข) คาร์ทริดจ์เทปและตลับเทป (ค) เครื่องอ่านม้วนเทป



การที่เทปแม่เหล็กยังคงได้รับความนิยมให้เป็นสื่อที่เก็บสำรองข้อมูล ก็เพราะความเร็ว ความจุข้อมูล และราคานั่นเอง

จานแม่เหล็ก (Megnetic Disk)
จานแม่เหล็กสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก และมีคุณสมบัติในการ เข้าถึงข้อมูลโดยตรง (direct access) ไม่จำเป็นต้องอ่านไปตามลำดับเหมือนเทป จานแม่เหล็กจะต้องใช้คู่กับ ตัวขับจานแม่เหล็ก หรือดิสก์ไดรฟ์ (disk drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านเขียนจานแม่เหล็ก (มีหน้าที่คล้ายกับเครื่องเล่นเทป) จานแม่เหล็กเป็นสื่อที่ใช้หลักการของการ เข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (random-access) นั่นคือถ้าต้องการข้อมูลลำดับที่ 52 หัวอ่านก็จะตรงไปที่ข้อมูลนั้นและอ่านข้อมูลนั้นขึ้นมาใช้งานได้ทันที ทำให้มีความเร็วในการอ่านและบันทึกที่สูงกว่าเทปมาก หัวอ่านของดิสก์ไดรฟ์นั้นเรียกว่า หัวอ่านและบันทึก (read/write head) เมื่อผู้ใช้ใส่แผ่นจานแม่เหล็กเข้าในดิสก์ไดรฟ์ แผ่นจานแม่เหล็กก็จะเข้าไปสวมอยู่ในแกนกลม ซึ่งเป็นที่ยึดสำหรับหมุนแผ่นจานแม่เหล็ก จากนั้นหัวอ่านและบันทึกก็จะอ่าน อิมพัลล์ของแม่เหล็ก (megnetic inpulse) บนแผ่นจานแม่เหล็กขึ้นมาและแปลงเป็นข้อมูลส่งเข้าคอมพิวเตอร์ต่อไป หัวอ่านและบันทึกสามารถเคลื่อนย้ายในแนวราบเหสือผิวหน้าของจานแม่เหล็ก ถ้าใช้จานแม่เหล็กที่มีผิวหน้าต่างกัน ก็ต้องใช้อ่านและบันทึกต่างชนิดกันด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากดิสก์ไดรฟ์นั้นเป็นเพียงอุปกรณ์เครื่องกลชนิดหนึ่งซึ่งอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการเก็บสำรองข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ

ก่อนที่จะใช้แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูล จะต้องผ่านขั้นตอนของการ ฟอร์แมต (format) ก่อนเพื่อเตรียมแผ่นจานแม่เหล็กให้พร้อมสำหรับเครื่องรุ่นที่จะใช้งาน (เช่น เครื่อง PC และ Mac จะมีฟอร์แมตที่ต่างกันแต่สามารถใช้แผ่นจานแม่เหล็กรุ่นเดียวกันได้) โดยหัวอ่านและบันทึกจะเขียนรูปแบบของแม่เหล็กลงบนผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก เพื่อให้การบันทึกข้อมูลลงแผ่นจานแม่เหล็กในภายหลังทำตามรูปแบบดังกล่าว การฟอร์แมตผ่านจานบันทึกจัดเป็นงานพื้นฐานหนึ่งของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ข้อมูลจะถูกบันทึกลงบนจานแม่เหล็กตามรูปแบบที่ได้ฟอร์แมตไว้แล้ว คือแบ่งในแนววงกลมรอบแกนหมุนเป็นหลาย ๆ วง เรียกว่า แทรก (Track) แต่ละแทรกจะถูกแบ่งออกในแนวของขนมเค็กเรียกว่า เซกเตอร์ (sector) และถ้ามีเซกเตอร์มากกว่าหนึ่งเซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (cluster) นอกจากนี้ ในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะมีตารางสำหรับจัดการข้อมูลในแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งมีหน้าที่เก็บตำแหน่งแทรกและเซกเตอร์ของข้อมูลที่อยู่ภายในจานแม่เหล็ก เรียกตารางนี้ว่า ตารางแฟต (FAT หรือ File Allocation Table) ซึ่งตารางนี้ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

ในปัจจุบันมีจานแม่เหล็กที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดอยู่ 2 ชนิด คือ ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) และ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) โดยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่จำหน่านในปัจจุบันจะมีดิกส์ไดรฟ์ปละฮาร์ดดิสก์ติดมาด้วยเสมอ

ฟลอปปีดิสก์ และดิสก์ไดรฟ์
ฟลอปปีดิสก์ เป็นแผ่นพลาสติกวงกลม มีขนาด 3.5 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว (วัดจากเส้นรอบวงของวงกลม) สามารถอ่านได้ด้วยดิสก์ไดรฟ์ แผ่นชนิด 3.5 นิ้วเป็นรุ่นใหม่กว่าบรรจุอยู่ในพลาสติกแบบแข็ง ส่วนขนาด 5.25 นิ้วซึ่งไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันแล้ว จะบรรจุอยู่ในพลาสติกที่แข็งกว่าแผ่นดิสเกตต์ แต่ยังสามารถหักงอได้ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้จะมีดิสก์ไดรฟ์หนึ่งหรือสองช่องเสมอ ดิสก์ไดรฟ์มีหน้าที่สองอย่าง คือ อ่านและบันทึก โดยการอ่านมีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดีเพลง ส่วนการบันทึกมีหลักการทำงานคล้ายกับการบันทึกเสียงลงในเทปบันทึกเสียง ต่างกันก็ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อต้องการบันทึกข้อมูล เพราะโปรแกรมที่ใช้งานจะจัดการให้โดยอัตโนมัติ แผ่นดิสเกตต์จะมี แถบป้องกันการบันทึก (write-protection) อยู่ด้วย ผู้ใช้สามารถเปิดแถบนี้เพื่อห้องกันไม่ให้มีการบันทึกข้อมูลอื่นทับไปหรือลบข้อมูลทิ้ง



(ก) ดิสก์เกตต์และดิสก์ไดร์ฟ (ข) ดิสก์ความจุ 120 MB



จำนวนข้อมูลที่เก็บอยู่ในแผ่นดิสเกตต์ จะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของสารแม่เหล็กบนผิวของแผ่นดิสเกตต์ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ดิสก์ความจุสองเท่า (double density) ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้มากกว่าดิสก์ที่มีความจุเท่าเดียวที่นิยมใช้ในสมัยก่อน ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ ดิสก์ความจุสูง (high density) ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้มากกว่าดิสก์ที่มีความจุเป็นสองเท่า และเป็นดิสก์ที่นิยมใช้งานกันอยู่ทั่วไป

นอกจากนี้ ในปัจจบันจะมีดิสเกตต์แบบพิเศษที่มีความจุสูงถึง 120 MB ต่อแผ่น ซึ่งใช้เทคโนโลยีทางด้าน laser เรียกว่า Laser Servo (LS) กำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสะดวกในการเก็บข้อมูลแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่หรือมีปริมาณมากได้ในแผ่นเพียงแผ่นเดียว รวมทั้งสามารถอ่านดิสเกตต์ 720 KB และ 1.44 KB ได้ และมีอัตราการโอนถ่ายข้อมูลเร็วกว่าดิสเกตต์ปกติถึง 5 เท่า

ดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว
ความจุสองเท่า 360 KB 720 KB (IBM)
800 KB (Macintosh)
ความจุสูง 1.2 MB 1.44 MB (IBM)
1.44 MB (Macintosh)
ความจุพิเศษ - 120MB

แสดงความจุของดิสเกตต์



ฮาร์ดดิสก์
มีหลักการทำงานคล้ายกับฟลอปปีดิสก์ แต่ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็ง เรียกว่า platters ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากและทำงานได้รวดเร็ว ฮาร์ดดิสก์ส่วนมากจะถูกยึดติดอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นแบบ เคลื่อนย้ายได้ (removeable diak) โดยจะเป็นแผ่นจานแม่เหล็กเพียงแผ่นเดียวอยู่ในกล่องพลาสติกบาง ๆ มีลักษณะคล้ายกับฟลอปปีดิสก์ ตัวอย่างเช่น Jaz จาก Iomega หรือ Syjet จาก Syquest ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 1 จิกะไบต์ขึ้นไป ในแผ่นขนาดประมาณ 3.5 นิ้วเท่านั้น และตัวไดร์ฟจะมีรุ่นที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ทางพอรต์ขนานหรือ SCSI

ฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะประกอบด้วยจานแม่เหล็กหลาย ๆแผ่น และสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแม่เหล็ก โดยที่ทุกแทรก (track) และเซกเตอร์ (sector) ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ชุดหนึ่งจะเรียกว่า ไซลินเตอร์ (cylinder)



ฮาร์ดดิสก์



แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่สัมผัสกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ดังนั้นจึงอาจมีความผิดพลาดหรือเสียหายเกิดขึ้นได้ถ้ามีบางสิ่งบางอย่าง เช่น ฝุ่น หรือควันบุหรี่กีดขวางหัวอ่านและบันทึก เพราะอาจทำให้หัวอ่านและบันทึกกระแทกกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก

การที่ฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพและความจุที่สูง เนื่องจากฮาร์ดดิสก์หนึ่งชุดประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กจำนวนหลายแผ่นทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอบปีดิสก์ โดยฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันจะมีความจุเริ่มตั้งแต่ 1 GB ขึ้นไป นอกจากนี้ ฮาร์ดดิสก์จะหมุนด้วยความเร็วสูงมาก คือ ตั้งแต่ 3,600 รอบต่อนาทีขึ้นไป ทำให้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ๆ ส่วนมากจะมี ความเร็วในการอ่านข้อมูลเฉลี่ย (average access time) อยู่ประมาณ 10 ms หรือน้อยกว่า

การเชื่อมฮาร์ดดิสก์กับแผงวงจรหลักจะต้องมี ส่วนเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ (hard disk interface) ซึ่งจะมีวงจรมาตรฐานที่ทั้งแผงวงจรหลักและฮาร์ดดิสก์รู้จัก ทำให้ข้อมูลสามรถส่งผ่านระหว่างแผงวงจรหลักและฮาร์ดดิสก์ได้ มาตรฐานส่วนเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ EIED (Enhanded Integrated Drive Electronics) และ SCSI (Small Computer System Interface)

ออปติคัลดิสก์ (Optical Disk)
มีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดี (CD) เพลง คือ ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากมหาศาลในราคาไม่แพงมากนัก

ซีดีรอม (CD-ROM หรือ Compact Disk Read Only Memory)
แผ่นซีดีรอมจะมีลักษณะคล้ายซีดีเพลงมาก สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 650 เมกะไบต์ต่อแผ่น การใช้งานแผ่นซีดีรอมจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive) ซึ่งจะมีหลายชนิดขึ้นกับความเร็วในการทำงาน ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที เรียกว่ามีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1 x ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ จะอ้างอิงความเร็วในการอ่านข้อมูลจากรุ่นแรก เช่น ความเร็ว 2 เท่า (2x) , ความเร็ว 4 เท่า (4x) เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ ซีดีรอมไดร์ฟที่มีอยู่ในท้องตลาดจะมีความเร็วตั้งแต่สิบเท่าขึ้นไป ข้อจำกัดของซีดีรอมคือ สามารถบันทึกได้เพียงครั้งเดียวด้วยเครื่องมือเฉพาะเท่านี้น จากนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้

ซีดีรอมได้รับความนิยมใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำหรับอ่านอย่างเดียวเป็นอย่างมาก เช่น ซอฟต์แวร์ เกมส์ ปทานุกรม (dictionary) แผนที่โลก หนังสือ ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะมาในรูปของซีดีรอมเป็นหลัก เนื่อกจากสะดวกต่อการติดตั้งลงฮาร์ดดิสก์ ไม่ต้องทำการเปลี่ยนแผ่นบ่อย ๆ โอกาสเสียมีน้อยและต้นทุกถูกกว่าดิสก์เกตต์มาก

การบันทึกข้อมูลลงในแผ่นซีดีรอมแกติแล้วต้องใช้เครื่องมือเฉพาะซึ่งมีราคาแพง แต่ในปัจจุบันนี้มีแผ่นซีดีรอมที่สามารถบันทึกและอ่านข้อมูลได้ เรียกว่า ซีดีอาร์ ( CD-R หรือ CD Recordable) ซึ่งสามารถนำซีดีรอมไดร์ฟชนิดใดก็ได้อ่านข้อมูลในแผ่นซีดีนั้น ทำให้เหมาะกับการนำมาจัดเก็บซอฟต์แวร์ทางด้าน มัลติมีเดีย (multimedia) โดยการบันทึกข้อมูลวงบนแผ่นซีดีอาร์สามาระเก็บข้อมูลได้ประมาณ 600 เมกะไบต์ในหนึ่งแผ่น (ถ้าเก็บข้อมูลนั้นในฟลอปปีดิสก์จะต้องใช้หลายร้อยแผ่น) แผ่นซีดีอาร์มีลักาณะเหมือนแผ่นซีดีทั่ว ๆ ไปต่างกันที่สีเท่านั้น โดยแผ่นซีดดีอาร์ที่สามารถบันทึกได้นั้นมีสีทาองต่าสงกับแผ่นซีดีธรรมดาที่มีสีเงิน

การบันทึกแผ่นซีดีอาร์จะต้องใช้ซีดีอาร์ไดร์ฟ (CD-R drive) ซึ่งสามารถอ่านแผ่นซีดีปกติได้ด้วย แต่จะมีราคาสูงกว่าซีดีรอมไดร์ฟปกติมาก ซีดีอาร์ไดร์ฟสามารถบันทึกแผ่นซีดีอาร์ให้เป็นได้ทั้งซีดีรอมหรือซีดีเพลง (audio CD) นิยมนำมาใช้บันทึกเป็น แผ่นต้นฉบับ (master) เพื่อนำไปผลิตแผ่นซีดีจำนวนมาก ๆ ต่อไป


วอร์มซีดี (WORM CD หรือ Write Once Read Many CD)
เป็นซีดีที่ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่นวอร์มซีดีได้หนึ่งครั้ง และสามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้มากี่ครั้งก็ได้ แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่เก็บไปแล้วได้อีก แผ่นวอร์มซีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 600 เมกะไบต์ ไปจนถึงมากกว่า 3 จิกะไบต์ ขึ้นกับชนิดของวอร์มซีดีที่ใช้งาน

วอร์มซีดีจะมีจุดด้วยกว่าซีดีรอมในเรื่องของการไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน นั่นคือแผ่นวอร์มซีดีจะต้องใช้กับเครื่องอ่านรุ่นเดียวกับที่ใช้บันทึกเท่านั้น ทำให้มีการใช้งานในวงแคบ ส่วนมากจะนิยมนำมาใช้ในการเก็บสำรองข้อมูลเท่านั้น

เอ็มโอดิสก์ ( MO หรือ Magneto Optical disk)

เ ป็นระบบที่ใช้หลักของสื่อที่ใช้สารแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ กับออปติคัลดิสก์เข้าด้วยกัน เอ็มโอไดร์ฟใช้แสงเลเซอร์ช่วยในการบันทึกและอ่านข้อมูล ทำให้สามารถอ่านและบันทึกแผ่นกี่ครั้งก็ได้คล้ายกับฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายแผ่นได้คล้ายฟลอบปีดิสก์ มีความจุสูงมากคือตั้งแต่ 200 MB ขึ้นไป รวมทั้งมีความเร็วในการใช้งานที่สูงกว่าฟลอบปีดิสก์ มีความจุสูงมากคือตั้งแต่ 200 ขึ้นไป รวมทั้งมีความเร็วในการใช้งานที่สูงกว่าฟลอบปีดิสก์และซีดีรอม แต่จะช้ากว่าฮาร์ดดิสก์

ข้อดีอีกประการของเอ็มโอดิสก์คือ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในเอ็มโอดิสก์จะปลอดภัยจากสนามแม่เหล็ก ต่างกับฟลอบปีดิสก์และฮาร์ดดิสก์ เพราะสนามแม่เหล็กเพียงอย่างเดียวไม่มีความร้อนจากแสงเลเซอร์จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ และการที่แสงเลเซอร์ช่วยในการอ่านและบันทึกข้อมูลนั้น ทำให้หัวอ่านบันทึกข้อมูลไม่จำเป็นต้องเข้าใกล้กับผิวของแผ่นดิสก์เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ จึงช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจาก การล้มเหลว (crash) ของหัวอ่าน โดยดิสก์แบบเอ็มโอสามารถมีอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่า 30 ปีทีเดียว ข้อเสียที่นำคัญของเอ็มโอดิสก์ คือราคาขับแผ่นยังค่อนข้างสูงอยู่ และเวลาที่ใช้ในการอ่านเขียนที่ยังช้ากว่าฮาร์ดดิสก์มาก เนื่องจากการแก้ไขข้อมูลของแผ่นเอ็มโอจะเกิดการทำงานสองขั้นตอน คือลบข้อมูลแล้วจึงเขียนข้อมูลใหม่เข้าไป

ดีวีดี (DVD หรือ Digital Versatile Disk)
เ ป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมสูงสุด โดยแผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 จิกะไบต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับเก็บภาพยนตร์เต็มเรื่องด้วยคุณภาพระดับสูงสุดทั้งภาพและเสียง (ในขณะที่ CD-ROM หรือ Laser Disk ที่นิยมใช้เก็บภาพยนต์ในปัจจุบันต้องใช้หลายแผ่น) ทำให้เป็นที่คาดหมายว่าดีวีดีจะมาแทนที่ทั้งซีดีรอม เลเซอร์ดสิก์หรือแม้กระทั้งวีดีโอเทป

ข้อกำหนดของดีวีดีจะสามารถมีความจุได้ตั้งแต่ 4.7 GM ถึง 17 GM และมีความเร็วในการเข้าถึง (Access time) อยู่ที่ 600 กิโลไบต์ต่อวินาที ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที รวมทั้งสามารถอ่านแผ่นซีดีรอมแบบเก่าได้ด้วย และยังมีข้อกำหนดสำหรับเครื่องรุ่นที่สามารถอ่านและเขียนแผ่นดีวีดีได้ในตัว ซึ่งกำลังจะออกตามมาต่อไป



เอ็มโอดิสก์ และดีวีดี

หน่วยแสดงผล

หน่วยแสดงผล (Output Unit)

โดยมากจะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)
หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ

จอภาพ (Monitor)
ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมากมาย เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (pixel) ถ้ามีพิเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มาองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ

จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบัน ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับโทรทัศน์
จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาทำให้เป็นจอภาพที่มีความหนาไม่มาก มีน้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าวจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาต่ำแต่ขาดความคมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม ส่วน Aciive Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Thin Film Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่ามาก
สมัยก่อนมีจอภาพระบบขาวดำหรือเขียวดำ ซึ่งเรียกว่า จอโมโนโครม (Monochrome) แต่ปัจจุบันนี้ซอฟต์แวร์ส่วนมากจะใช้ร่วมกับจอภาพชนิดสีเท่านั้น ซึ่งจะมีจอภาพอยู่หลายชนิดให้เลือก โดยแตกต่างกันในส่วนของ ความละเอียด ( Resolution) จำนวนสี (color) และ ขนาดของจอภาพ (size)

ในส่วนความละเอียดของจอภาพ ในปัจจุบันจะนิยมใช้จอภาพชนิดสีแบบ Super Video Graphic Adapter หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) ซึ่งมีความละเอียด 800x600 พิกเซล สำหรับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำ (low resolution) และสำหรับจอภาพที่มีความละเอียดสูง จะนิยมใช้ความละเอียดที่ 1024x768,1280x1024 หรือ 1600x1200 พิกเซล ซึ่งจะให้ความคมชัดที่สูงมาก สิ่งที่เป็นปัจจัยอีกอันหนึ่งที่ทำให้ภาพดูคมชัดมากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีจำนวนพิกเซลเท่ากัน ก็คือ ระยะห่างระหว่างพิกเซล (dot pitch) โดยระยะห่างระหว่างพิกเซลน้อยก็จะให้ความละเอียดได้มากกว่า จอภาพที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบันมีระยะห่างระหว่างพิกเซลอยู่ระหว่าง 0.25-0.28 หน่วย ซึ่งระยะห่างระหว่างพิกเซลนี้เป็นสิ่งที่ติดมากับเครื่องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ในส่วนของจำนวนสีนั้น ณ ขณะใดขณะหนึ่งแต่ละพิเซลจะแสดงสีได้เพียงสีเดียวเท่านั้น ซึ่งสีต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยตัวเลข ดังนั้น ถ้าจอภาพแสดงได้ 16 สี เลขเหล่านั้นก็จะแทนด้วย 4 บิต ถ้าต้องการแสดงถึง 256 สีก็จะต้องใช้ 8 บิตแทนรหัสสีนั้น ๆ

ปัจจุบันนี้ผู้ใช้มักจะแสดงภาพกราฟิก ภาพจากโทรทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว บนจอภาพคอมพิวเตอร์ จุงต้องการจอภาพที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีขนาด 14 นิ้ว 15 นิ้ว และ 17 นิ้ว ส่วนจอภาพซึ่งมีจนาดใหญ่กว่านี้จะนิยมใช้กับงานที่เน้นกราฟฟิก เช่น งานออกแบบ (CAD/CAM) เป็นต้น



จอภาพคอมพิวเตอร์และแผงวงจรกราฟฟิก



การต่อจอภาพเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมี แผงวงจรกราฟฟิก (Graphic Adapter Board) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ์ดวีดีโอ (video card) ซึ่งจอภาพแต่ละชนิดก็ต้องการแผงวงจรที่ต่างกัน แผงวงจรกราฟฟิกจะถูกเสียบเข้ากับ ช่องขยายเพิ่มเติม (expansion slot) ในคอมพิวเตอร์ แผงวงจรกราฟฟิกมักจะมีหน่วยความจำเฉพาะที่เรียกว่า หน่วยความจำวีดีโอ (video memory) เพื่อให้ใช้โปรแกรมด้านกราฟฟิกได้สวยงามและรวดเร็ว ซึ่งหน่วยความจำนี้อาจใช้แรมธรรมดาหรือแรมแบบพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เช่น วีดีโอแรม (video RAM) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า วีแรม (VRAM) เป็นต้น

สิ่งที่เป็นปัจจัยข้อหนึ่งที่ผู้ใช้จอภาพต้องคำนึงคือ อัตราการเปลี่ยนภาพ (refresh rate) ของการ์ดวีดีโอ โดยภาพที่แสดงบนจอภาพแต่ละภาพนั้นจะถูกลบและแสดงภาพใหม่เริ่มจากบนลงล่าง หาก อัตรการเปลี่ยนภาพในแนวดิ่ง (Vertical-refresh rate) เป็น 60 ครั้งต่อวินาที หรือ 60 Hz จะเกิดการกระพริบทำให้ผู้ใช้ปวดศีรษะได้ มีผู้วิจัยพบว่าอัตราเปลี่ยนภาพในแนวดิ่งไม่ควรต่ำกว่า 70 Hz จึงจะไม่เกิดการกระพริบ และทำให้ผู้ใช้ดูจอภาพได้อย่างสบายตา นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับถอดรหัสภาพแบบ MPEG (Motion Picture Experts) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่ติดอยู่บนการ์ดวีดีโอ อันจะทำให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส่แผ่นหนึ่ง

อุปกรณ์ฉายภาพจะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังส่องสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูง ภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX , LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดค่าแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุด แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุดคิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ แต่จะกำหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว (หากไม่กำหนด การวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)



อุปกรณ์ฉายภาพ



อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
อมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (speaker) และ การ์ดเสียง (sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป้นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้ง สามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลำโพงจะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงเช่นเดียวกับลำโพงวิทยุ ส่วนการ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นำมาเสียงกับช่องเสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลำโพง รวมทั้งสามารถต่อไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ดเพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย


เทคโนโลยีด้านเสียงในขณะนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ


Weveform audio หรืออาจเรียกว่า digital audio เป็นเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนการเก็บเสียงลงเทปเพลง แต่ในที่นี้จะเป็นการบันทึกเสียงในรูปของ waveform (รูปแบบคลื่นเสียง) ลงในแฟ้มข้อมูลตามฟอร์แมตต่าง ๆ เช่น .WAV ของ windows เป็นต้น ซึ่งสามารถนำเสียงที่บันทึกไว้นี้อ่านกลับมาเป็นคลื่นเสียงออกทางลำโพงได้และเนื่องจากข้อมูลเสียงที่เก็บไว้อยู่ในรูปของดิจิตอล ทำให้การปรับแต่งเสียงสามารถทำได้โดยสะดวก
MIDI (Musical Instrument Digital Interface) เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมดนตรีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ใช้สำหรับการส่งและแลกเปลี่ยนสัญญาณเสียงในรูปแบบที่อุปการ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้งานได้ โดยจะเป็นเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนการเก็บโน้ตเพลง เนื่องจากข้อมูลแบบ MIDI จะเป็นคำสั่งในการสังเคราะห์เสียงแทนที่จะเป็นเสียงเพลงจริง ๆ และจะใช้อุปกรณ์ ซินธิไซเซอร์ (Sythesizer) ในการรับคำสั่งจากข้อมูล MIDI ทำให้สามารถแก้ไขหรือปรับแต่งเพลงได้ทีละตัวโน้ต รวมทั้งสามารถปรับแต่งจังหวะได้โดยไม่กระทบกระเทือนถึงระดับเสียงของตัวโน้ต

หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)
หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น

เครื่องพิมพ์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลายชนิดขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัวอักษร ความเร็วในการพิมพ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ชนิด คือ

เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact printer)
ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่นได้ ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้จะไม่ดีนักสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
เครื่องพิมพ์อักษร (character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องพิมพ์บรรทัด (line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์งานได้เร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน
เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Nonimpact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก และพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและภาพกราฟฟิค รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษแบบสำเนา (copy) ได้ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer)
ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือมีแสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีรุ่นต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในด้านความเร็ว และความละเอียดของงานพิมพ์ โดยในปัจจุบันสามารถพิมพ์ได้ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inchหรือ dpi)
เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะสามารถพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดตอก และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ ทำให้ได้รับความนิยมนำมาใช้งานตามบ้านอย่างมาก
เครื่องพิมพ์ความร้อน (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุด จะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า ทำงานโดยการกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ Thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก


(1) เครื่องพิมพ์แบบจุด
(2) เครื่องพิมพ์เลเซอร์
(3) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก



เครื่องพลอตเตอร์ (Plotler)
ใช้วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มีให้เลือกหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดา

หน่วยรับข้อมูงล

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device)


แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูลสำหรับเทอร์มินอล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายกับแป้นพิมพ์ดีด แต่มีจำนวนแป้นมากกว่า และถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ


แป้นอักขระ (Charater Keys) มีลักษณะการจัดวางตัวอักษรเหมือนแป้นบนเครื่องพิมพ์ดีด
แป้นควบคุม (Control Keys) เป็นแป้นที่มีหน้าที่สั่งการบางอย่างโดยใช้งานร่วมกับแป้นอื่น
แป้นฟังก์ชั่น (Function Keys) คือแป้นที่อยู่แถวบนสุด มีสัญลักษณ์เป็น F1..F12 ซอฟต์แวร์แต่ละชนิดอาจกำหนดแป้นเหล่านี้ให้มีหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป
แป้นตัวเลข (Numeric Keys) เป็นแป้นที่แยกจากแป้นอักขระมาอยู่ทางด้านขวา มีลักษณะคล้ายเครื่องคิดเลข ช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกตัวเลขเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์


แป้นพิมพ์



นอกจากนี้ ยังมีแป้นพิมพ์บางประเภทที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น แป้นพิมพ์ที่ใช้ในร้านอาหารแบบเร่งด่วน (fast food restaurant) จะใช้พิมพ์เฉพาะชื่ออาหาร หรือแป้นพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Trller Machine) เป็นต้น

แป้นพิมพ์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะใช้รหัส 8 บิตแทนตัวอักษรหนึ่งตัว ทำให้สามารถแทนตัวอักขระได้ทั้งหมด 256 ตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานทั้งอักขระภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่หากเป็นแป้นพิมพ์ภาษาอื่นก็อาจใช้รหัสในการแทนตัวอักษรแตกต่างกัน เช่น ภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีตัวอักษรทั้งหมดประมาณ 50,000 ตัว ต้องใช้รหัส 16 บิตจึงจะแทนตัวอักษรได้ทั้งหมด



แป้นพิมพ์แบบเออร์โกโนมิกส์



อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Devices)


เมาส์ (Mouse)
มีหลายขนาดและมีรูปร่างแตกต่างกันไป ที่นิยมใช้มีขนาดเท่ากับฝ่ามือ มีลูกกลมกลิ้งอยู่ด้านล่าง ส่วนด้านบนจะมีปุ่มให้กดจำนวนสอง สาม หรือสี่ปุ่ม แต่ที่นิยมใช้กันมากคือสองปุ่ม ใช้ส่งข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำหลักโดยการเลื่อนเมาส์ให้ลูกกลมด้านล่างหมุน เพื่อเป็นการเลื่อน ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) บนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ ทำให้การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์ ผู้ใช้อาจใช้เมาส์วาดรูป เลือกทางเลือกจากเมนู และเปลี่ยนแปลงหรือย้ายข้อความ เมาส์ยังไม่สามารถใช้ในการป้อนตัวอักษรได้ จึงยังคงต้องใช้คู่กับแป้นพิมพ์ในกรณีที่มีการพิมพ์ตัวอักษร แต่สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ การใช้เมาส์เพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยกว่าการใช้แป้นพิมพ์



เม้าท์รุ่นใหม่ซึ่งมีล้อเลื่อนอยู่ตรงกลาง เพื่อใช้เลื่อนหน้ากระดาษบนจอภาพ



ลูกกลมควบคุม(Track ball),แท่งชี้ควบคุม(Track point),แผ่นรองสัมผัส (Touch pad)
อุปกรณ์ทั้งสามแบบนี้มักพบในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเพื่อทำหน้าที่แทนเมาส์ เนื่องจากสามารถติดไว้กับตัวเครื่องได้เลย ทำให้พกพาได้สะดวกกว่า และใช้เนื้อที่ในการทำงานน้อยกว่าเมาส์ อุปกรณ์ทั้งสามแบบจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ

ลูกกลมควบคุม จะเป็นลูกบอลเล็ก ๆ ซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอภาพในเนื้อที่ของแป้นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์
แท่งชี้ควบคุม จะเป็นแท่งพลาสติกเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยใช้นิ้วหัวแม่มือเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์
แผ่นรองสัมผัส จะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์


(ก) ลูกกลมควบคุม (ข) แท่งชี้ควบคุม (ค) แผ่นรองสัมผัส



จอยสติก (Joystick)
จอยสติก จะเป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้นลง / ซ้ายขวา เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้นกดเพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์



จอยสติก



จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen)


จอภาพระบบสัมผัส (Touch Screen)
เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้ เพื่อเลือกการทำงานที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกทางใด และทำงานให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

ระบบปากกา (Pen-Based System)


ปากกาแสง (Light pen)
ใช้เซลล์แบบซึ่งมีความไวต่อแสงเป็นตัวกำหนดตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะหรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (CAD หรือ Computer Aided Design ) รวมทั้งนิยมให้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA เป็นต้น

เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
ประกอบด้วยกระดาษที่มี เส้นแบ่ง (Grid) ซึ่งสามารถใช้ปากกาเฉพาะที่เรียกว่า stylus ชี้ไปบนกระดาษนั้น เพื่อส่งข้อมูลตำแหน่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ ปรากฏเป็นลายเส้นบนจอภาพ เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กับงานด้าน CAD เช่น ใช้ในการออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่ ตึกอาคาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และหุ่นยนต์ เป็นต้น



(ก) อุปกรณ์ปากกาแสง (ข) เครื่องอ่านพิกัด



อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Devices)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ระบบวิเคราะห์แสง (Optical recognition system) ช่วยให้มีการพิมพ์ข้อมูลเข้าน้อยที่สุด โดยจะอ่านข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้สำแสงกวาดผ่านข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พิมพ์ไว้ เพื่อนำไปแยกแยะรูปแบบต่อไป ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ กันมาก โดยมีอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม คือ

เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition system)
ปัจจุบันมีจำนวนผู้นิยมใช้เช็คมากขึ้น จึงมีผู้คิดวิธีการตรวจสอบเช็คให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ โดยได้ประดิษฐ์เครื่อง MIRC ขึ้นใช้ในธนาคารสำหรับตรวจสอบเช็ค โดยเครื่องจะทำการเข้ารหัสธนาคาร รหัสสาขา เลขที่บัญชี และเลขที่เช็ค ไว้ในเช็คทุกใบ จากนั้นจึงส่งเช็คนั้นให้ลูกค้า ตัวเลขที่เข้ารหัสไว้จะเรียกว่า ตัวเลข MIRC ในเช็คทุกใบจะมีเลข สีดำชัดเจนที่ด้านล่างซ้ายของเช็คเสมอ และหลังจากที่เช็คนั้นกลับมาสู่ธนาคารอีกครั้งหนึ่ง ก็จะทำการตรวจสอบจากตัวเลข MIRC ว่าเป็นเช็คของลูกค้าคนนั้นจริงหรือไม่ เครื่อง MIRC ไม่เป็นที่นิยมใช้กับงานประเภทอื่น เพราะชุดของตัวอักษรที่เก็บได้มีสัญลักษณ์เพียง 14 ตัวเท่านั้น

ข้อดีของเครื่อง คือ

มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องน้อย ทำให้มีเปอร์เซนต์ความผิดพลาดต่ำมาก
รหัส MIRC ที่ใช้สามารถอ่านได้ทั้งคนและเครื่อง MIRC
ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ รวดเร็วและเชื่อถือได้


เอ็มไอซีอาร์



เครื่องอ่านรหัสบาร์โคด (Bar Code Reader)
เริ่มใช้ในปีค.ศ. 1970 โดยการพิมพ์รหัสสินค้านั้น ๆ ออกมาในรูปแถบสีดำและขาวต่อเนื่องกันไป เรียกว่า รหัสบาร์โคด จากนั้นจะสามารถใช้เครื่องอ่านรหัสบาร์โคดอ่านข้อมูลบนแถบบาร์โคด เพื่อเรียกข้อมูลของรายการสินค้านั้น เช่น ราคาสินค้า จำนวนที่เหลืออยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ออกมาจากฐานข้อมูล แล้วจึงทำการประมวลผลข้อมูลรายการนั้นและทำงานต่อไป

ในปัจจุบัน บาร์โคดได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องทำการพิมพ์ข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ จึงลดความผิดพลาดของข้อมูลและประหยัดเวลาได้มาก ระบบบาร์โคดเป็นสิ่งที่ผู้ใช้จะพบเห็นในชีวิตประจำวันได้บ่อยที่สุด นิยมใช้ในห้องสรรพสินค้า ร้านขายหนังสือ ห้องสมุด เป็นต้น



เครื่องอ่านบาร์โคดแบบต่าง ๆ



สแกนเนอร์ (Scanner)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือสแกน (scan) ข้อมูลบนเอกสารเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีส่องแสงไปยังวัตถุที่ต้องการสแกน แสงที่ส่องไปยังวัตถุแล้วสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ เซลล์ไวแสง (Charge-Coupled Device หรือ CCD) ซึ่งจะทำการตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุและแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลทางดิจิตอล เอกสารที่อ่านอาจจะประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟิกก็ได้

สแกนเนอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ อาจแบ่งตามวิธีใช้งานได้เป็น

สแกนเนอร์มือถือ (Handheld scanner) มีขนาดเล็กสามารถพกพาได้สะดวก การใช้สแกนเนอร์รุ่นมือถือนี้ ผู้ใช้ต้องถือตัวสแกนเนอร์กวาดไปบนภาพหรือวัตถุที่ต้องการ
สแกนเนอร์แบบสอดกระดาษ (sheetfed scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่ผู้ใช้ต้องสอดภาพหรือเอกสารเข้าไปยังช่องสำหรับอ่านข้อมูล (scan head) เครื่องชนิดนี้จะเหมาะสมสำหรับการอ่นเอกสารที่เป็นแผ่น ๆ แต่ไม่สามารถอ่านเอกสารที่เย็บเป็นเล่มได้
สแกนเนอร์แบบแท่น (flatbed scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ผู้ใช้เพียงวางกระดาษต้นฉบับที่ต้องการไปบนเครื่องสแกนเนอร์ มีวิธีการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร ทำให้ใช้งานได้ง่าย
นอกจากนี้ ยังมีการนำสแกนเนอร์รวมเข้ากับอุปกรณ์ชนิดอื่น เช่น รวมสแกนเนอร์แบบสอดกระดาษเข้ากับแป้นพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งทำให้สะดวกต่อการใช้งาน อีกทั้งเป็นการประหยัดเนื้อที่และประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการซื้อแยกชิ้น



(ก) สแกนเนอร์มือถือ (ข) สแกนเนอร์แบบสอดกระดาษ (ค) สแกนเนอร์แบบแทน (ง) สแกนเนอร์บวกแป้นพิมพ์




จุดเด่นของเครื่องสแกนเนอร์คือสามารถเก็บภาพไว้ได้นาน โดยที่ภาพยังคงคุณภาพเช่นเดียวกับต้นฉบับเดิมเสมอ จะไม่มีทางเหลืองหรือฉีกขาดได้ อย่างไรก็ดี สแกนเนอร์แต่ละรุ่นก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกันไป ดังรายละเอียดคือ

ความละเอียดในการสแกน มีหน่วยเป็น จุดต่อนิ้ว (dot per inch) หรือ ดีพีไอ (dpi) จำนวนจุดต่อนิ้วยิ่งมากจะหมายถึงยิ่งมีความละเอียดสูง ปกติแล้วการวัดค่าความละเอียดในสแกนเนอร์กระทำได้ 2 แบบ คือ Optical resolution ซึ่งเป็นค่าความละเอียดที่แท้จริงของสแกนเนอร์ที่ตัว CCD สามารถกระทำได้ และ Interpolate resolution จะเป็นความละเอียดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการเพิ่มจุดให้แก่ภาพที่สแกน
จำนวนสี จะเป็นการแยกแยะความแตกต่างสีที่อ่านได้ ปกติแล้วสีที่อ่านเข้าจะมีการจัดเก็บเป็นบิต
ความเร็วในการสแกน จะขึ้นกับความละเอียดในการสแกนและจำนวนสีด้วย ปกติจะระบุเป็น มิลลิวินาทีต่อบรรทัด (ms/line)
เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - ORC)
โอซีอาร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลที่เป็นตัวอักขระบนเอกสารต่าง ๆ และทำการแปลงข้อมูลดิจิตอลที่อ่านได้ไปเป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ โออาร์ซอาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์เฉพาะทางสำหรับแปลงเอกสารเข้าสู่คอมพิวเตอร์ หรืออาจหมายถึงซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ตัวอักษรจากข้อมูลที่ได้จากสแกนเนอร์ก็ได้

การใช้โอซีอาร์ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร เนื่องจากบ่อยครั้งจะมีข้อผิดพลาดในการตีความอักขระเกิดขึ้น โดยเฉพาะหากข้อความในเอกสารไม้ได้เป็นตัวเรียงพิมพ์ (เช่น เป็นลายมือเขียน) อย่างไรก็ดี โอซีอาร์ก็เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บเอกสารจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดต่าง ๆ ที่ต้องมีการจัดเก็บหนังสือเข้าสู่ไมโครฟิล์มหรืออุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เป็นต้น

เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Optical Mark Reader-OMR)
โอเอ็มอาร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการอ่านสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายที่ระบายด้วยดินสอดำลงในตำแหน่งที่กำหนด ตัวอย่างเช่น ข้อสอบแบบเลือกคำตอบ เป็นต้น โดยดินสอดำที่ใช้นั้นต้องมี สารแม่เหล็ก (magnetic particle) จำนวนหนึ่ง เพื่อให้เครื่องโอเอ็มอาร์สามารถรับรู้ได้ ซึ่งปกติจะเป็นดินสอ 2B จากนั้น เครื่องโอเอ็มอาร์ก็จะอ่านข้อมูลตามเครื่องหมายที่มีการระบายด้วยดินสอดำ

กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับถ่ายภาพแบบไม่ต้องใช้ฟิล์ม โดยเก็บภาพที่ถ่ายไว้ในลักษณะดิจิตอลด้วยอุปกรณ์ (CCD Charge Couples Device) ภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก และสามารถนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์สแกนเนอร์อีก เป็นอุปกรณ์ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากไม่ต้องใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพและสามารถดูผลลัพธ์ได้จากจอที่ติดอยู่กับกล้องได้ในทันที



กล้องถ่ายภาพดิจิตอลและหน่วยความจำแฟลซ



กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวและเก็บเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล นิยมใช้ในการทำ การประชุมทางไกลผ่านวีดีโอ (Video Teleconference) ซึ่งเป็นการประชุมแบบกลุ่มผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น อย่างไรก็ดี กล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยสามารถเก็บภาพเคลื่อนไหวได้ประมาณ 10-15 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้น



กล้องถ่ายทอดวีดีโอแบบดิจิตอล



อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device)
การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปของเสียงเป็นอีกขั้นตอนของการพัฒนาทางเทคโนโลยี ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ยังมีปัญหาอยู่บ้างก็ตาม อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น

อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)
เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยนักคอมพิวเตอร์และนักภาษาศาสตร์ เพื่อใช้รับสัญญาณเสียงที่มนุษย์พูด และแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ ปัญหาที่สำคัญของอุปกรณ์ชนิดนี้คือผู้พูดแต่ละคนพูดด้วยน้ำเสียงและสำเนียงเฉพาะของแต่ละบุคคล จึงได้มีการแก้ปัญหาโดยให้คอมพิวเอตร์ได้เรียนรู้น้ำเสียงของผู้ที่ต้องการใช้งานในระยะเวลาหนึ่งก่อน เพื่อเก็บรูปแบบของน้ำเสียงและสำเนียงไว้ ซึ่งวิธีการนี้ทำให้อัตราการตีความเสียงผิดพลาดลดลงอย่างมาก ในระบบรับข้อมูลเสียงรุ่นแรก ๆ สามารถจดจำคำได้เพียงไม่กี่สิบคำเท่านั้น แต่ปัจจุบัน บริษัทไอบีเอ็มได้มีการสร้างอุปกรณ์ชื่อว่า VoiceType ซึ่งประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่สามารจดจำคำได้ถึง 32,000 คำจากเสียงหลาย ๆ เสียง นิยมนำมาใช้กับผู้ที่ทำงานแล้วมือไม่ว่างพอที่จะกดแป้นพิมพ์ หรือผู้พิการ เช่น คนตาบอด ก็สามารถใช้เสียงทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องใช้แป้นพิมพ์

ในปัจจุบัน สามารถแบ่งวิธีวิเคราะห์เสียงพูดได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะออกเสียง คือ

Speaker dependent Isolated Word Recognition วิเคราะห์เฉพาะผู้พูดที่เจาะจงและเป็นคำโดด
Speaker dependent Continuoused Word Recognition วิเคราะห์เฉพาะผู้พูดที่เจาะจงและเป็นคำต่อเนื่อง
Speaker Independent Isolated Word Recognition วิเคราะห์แบบไม่เจาะจงและเป็นคำโดด
Speaker Independent Continuoused Word Recognition วิเคราะห์แบบไม่ที่เจาะจงและเป็นคำต่อเนื่อง
ความยากในการสร้างระบบวิเคราะห์จะเพิ่มขึ้นตามลำดับข้อที่กล่าวมา นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น อารมณ์และน้ำเสียงของผู้พูดในขณะนั้น ซึ่งจะทำให้คำคำเดียวกันมีการออกเสียงที่ต่างกันไปได้อีกด้วย

หน่วยความจำหลัก

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

หน่วยความจำหลักที่นิยมใช้งานอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory)
นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า รอม (ROM) คือหน่วยความจำที่เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญ ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งที่ใช้ในชิปชื่อ ROM BIOS (Basic Input/Output System) เนื่องจากรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง นั่นคือ แม้จะปิดเครื่องแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่ข้อเสียของรอมคือหน่วยความจำชนิดนี้ไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง รวมทั้งมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม

นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีรอมที่เป็นชิปพิเศษแบบต่าง ๆ อีก คือ

PROM (Programmable Read-Only Memory)
เป็นหน่วยความจำแบบรอม ที่สามารถบันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษได้หนึ่งครั้ง จากนั้นจะลบหรือแก้ไขไม่ได้

EPROM (Erasable PROM)
เป็นหน่วยความจำรอม ที่ใช้แสงอัลตราไวโอเลตในการเขียนข้อมูล สามารถนำออกจากคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องมือพิเศษและบันทึกข้อมูลใหม่ได้

EEPROM (Electrically Erasable PROM)
จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดซึ่งรวมเอาข้อดีของรอมและแรมเข้าด้วยกัน เป็นชิปที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยงและสามารถเขียน แก้ไขหรือลบข้อมูลที่เก็บไว้ได้ด้วยโปรแกรมพิเศษ โดยไม่ต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เปรียบเสมือนกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูง หน่วยความจำชนิดนี้มีข้อด้อย 2 ประการเมื่อเทียบกับหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นั่นคือราคาที่สูงและมีความจุข้อมูลต่ำกว่ามาก ทำให้การใช้งานยังจำกัดอยู่กับงานที่ต้องการความเร็วสูงและเก็บข้อมูลไม่มากนัก ตัวอย่างของหน่วยความจำเป็นแบบที่รู้จักกันดีคือ หน่วยความจำแบบ Flash ซึ่งนิยมนำมาใช้เก็บในเครื่องรุ่นใหม่ ๆ

หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory)
นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า แรม (Ram) หมายถึงหน่วยความจำความเร็วสูงซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีหน่วยความจำนี้โปรเซสเซอร์ก็จะทำงานไม่ได้เลย เนื่องจากหน่วยความจำแรมเป็นเสมือนกระดาษทด ที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่โปรเซสเซอร์ใช้ในขณะกำลังทำงานอยู่ เพราะอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลอื่น เช่น ดิสก์ไดรฟ์ จะมีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลช้ามาก ขณะที่ซีพียูทำงานจึงต้องทำงานกับหน่วยความจำแรมที่มีความเร็วสูงเสมอ

โดยปกติแล้วถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมากก็สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะมีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งโปรแกรมต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก แผงวงจรหลัก (main board) ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะถูกออกแบบมาให้สามารถเพิ่ม ชิปหน่วยความจำ (memory chip) ได้โดยง่าย เนื่องจากถ้าผู้ใช้ต้องทำงานกับโปรแกรมที่มีการคำนวณซับซ้อนหรือทำงานกับภาพกราฟิก ก็อาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มหน่วยความจำให้มากขึ้น

คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากจำเป็นต้องมีหน่วยความจำ จำนวนมาก เนื่องจากมักจะนำคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมาใช้ประมวลผลโปรแกรมจำนวนหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเสมอ เช่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray-4 ต้องใช้หน่วยความจำแรมอย่างน้อย 256 เมกะไบต์ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ DEC AXP/150 ใช้หน่วยความจำแรมอย่างน้อย 128 เมกะไบต์ เนื่องจากการที่มีผู้ใช้หลายคนทำงานพร้อม ๆ กัน โดยใช้หลักการของ มัลติโปรเซสซิ่ง (multiprocessing) จะต้องมีการแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ เพื่อเก็บโปรแกรมแต่ละโปรแกรมให้สามารถทำงานไปได้พร้อมกัน

หน่วยความจำแรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ

DRAM (Dynamic RAM)
เป็นหน่วยความจำที่มีการใช้งานกันมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีวงจรคล้ายตัวเก็บประจุเพื่อจัดเก็บแต่ละบิตของข้อมูล ทำให้ต้องมีการย้ำสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปก่อนที่จะสูญหาย เรียกว่า การรีเฟรช (Refresh) หน่วยความจำจะมีข้อดีที่ราคาต่ำ ข้อเสียคือมีความเร็วไม่สูงนักเนื่องจากต้องมีการรีเฟรชข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งได้มีการนำเทคนิคต่าง ๆ มาลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล ทำให้เกิด DRAM ชนิดย่อย ๆ เช่น FPM (Fast Page Mode) RAM,EDO (Extended Data Output) RAM,SDRAM (Synchronous DRAM) เป็นต้น หน่วยความจำ DRAM จะมีความเร็วอยู่ระหว่าง

SRAM (Static RAM)
เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง พลังงานที่ SRAM ใช้จะน้อยมาก โดยสามารถใช้พลังงานถ่านนาฬิกาในการทำงานได้ถึงหนึ่งปี ข้อเสียคือราคาสูง นิยมใช้ SRAM เป็นหน่วยความจำแคช เพื่อเสริมความเร็วให้กับหน่วยความจำ DRAM ในระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเนื่องจากหน่วยความจำจะมีความเร็วต่ำกว่า 10 nanosesond


--------------------------------------------------------------------------------

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (Central Process Unit)

องค์ประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง
วงจรในหน่วยประมวลผลกลางเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ซึ่งเป็นชิปที่ทำจากซิลิกอน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 หน่วยคือ

หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เช่น ควบคุมการทำงานของความจำหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยคำนวณและตรรกะ หน่วยแสดงผล และที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นการทำงานของหน่วยนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางระบบประสาท ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่หน่วยควบคุมและซีพียูจะรับรู้คำสั่งต่าง ๆ ในรูปของคำสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น ถ้าผู้ใช้เขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาระดับสูง (High Level Language) ก่อนที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลงเป็นภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ก่อน
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า เอแอลยู (ALU) ทำหน้าที่ประมวลผลการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการเปรียบเทียบทางตรรกะทั้งหมด
การทำงานในซีพียูมี รีจิสเตอร์ (Register) คอยทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลหรือคำสั่งที่ถูกนำเข้ามาปฏิบัติการภายในซีพียู รวมทั้งมี บัส (Bus) เป็นเส้นทางในการส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าของหน่วยต่าง ๆ ภายในระบบ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบกันมีการออกแบบบัสต่างกัน

ในระบบคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ เช่น เครื่องระดับเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หรือเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่าย (Network Server) มักจะมีซีพียูมากกว่าหนึ่งหน่วย ซึ่งการมีซีพียูจำนวนมาก ๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้มากกว่าหนึ่งคำสั่งพร้อมกัน หรือทำงานกับโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมพร้อมกัน คุณสมบัติเช่นนี้เรียกว่ามัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocesstig) นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยการใช้ โคโปรเซสเซอร์ (coprocessor) ซึ่งเป็นซีพียูอีกตัวที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น ช่วยคำนวณตัวเลข หรือภาพกราฟฟิก


--------------------------------------------------------------------------------

ฮาร์ดแวร์

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง



องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์



หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นหน่วยที่เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆในหน่วยประมวลผลกลางเป็นตัวกำหนดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กลงในขณะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น



หน่วยประมวลผลกลาง



หน่วยความจำหลัก
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary Storage)

หน่วยรับข้อมูล
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย

หน่วยแสดงผล
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
ก่อนที่จะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้อย่างไร จะต้องทราบก่อนว่าสื่อสำหรับเก็บข้อมูลนั้นมีอะไรบ้าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์แปลงคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปของเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ทั้งสิ้น โดยที่ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยกลุ่มของเลขฐานสอง และเนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็จะหายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวรไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก คอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ ได้ แต่ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าแรมมาก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อนจึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง


--------------------------------------------------------------------------------

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ก็เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่ว ๆ ไป ถ้าคุณใช้อย่างเดียวไม่ดูแลรักษา อายุของการใช้ก็จะสั้นลง ส่วนคอมพิวเตอร์ก็จะทำให้เครื่องช้า ไม่เร็วเหมือนตอนซื้อมาใหม่ ๆ หรือเต็มไปด้วยแต่ขยะทั้งฮาร์ดดิสก์ เรามาดูแลรักษากันดีกว่า เพื่อให้เครื่องใช้ได้นาน ๆ หรือทำให้เครื่องของคุณเร็ว




การใช้งาน Disk Cleanup สำหรับลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจาก ฮาร์ดดิสก์
Disk Cleanup เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีมาให้ใน Windows ใช้สำหรับการทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์ หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือใช้สำหรับลบไฟล์ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในการใช้งานทิ้ง เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีเนื้อที่เหลือใช้งานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรที่จะทำการสั่งโปรแกรม Disk Cleanup เป็นประจำ อาจจะสักประมาณสัปดาห์ละครั้งการเรียกใช้โปรแกรม Disk Cleanupเรียกใช้โปรแกรม Disk Cleanup โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Cleanup ตามรูปตัวอย่

กดเลือกที่ Disk Cleanup เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรม


ครั้งแรก ให้ทำการเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการ Cleanup ก่อนและกดปุ่ม OK



หน้าตาของเมนูต่าง ๆ ในโปรแกรม Disk Cleanup ส่วนหลัก ๆ ที่ต้องทำการเลือกคือในช่องของ Files to delete โดยทำการเลือกสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการจะลบทิ้ง และกดที่ OK เพื่อเริ่มต้นการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออก


อาจจะมีเมนูการยืนยันการลบอีกครั้งก็กด Yes เพื่อยืนยันการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นทิ้ง รอสักพักก็เป็นอันจบขั้นตอนครับ
การตั้งให้โปรแกรม Disk Cleanup ทำงานแบบอัตโนมัตินอกจากการสั่งเรียกโปรแกรม Disk Cleanup ให้ทำงานตามต้องการแล้ว ยังสามารถทำการตั้งโปรแกรมนี้ให้ทำงาน โดยอัตโนมัติ เมื่อฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่มีพื้นที่เหลือน้อยได้ วิธีการคือเรียกโปรแกรม Disk Cleanup เลือก Drive ที่ต้องการตั้ง และหลังจากนั้น กดเลือกที่ป้ายของ Settings

กดเลือกที่ช่อง If this drive runs low on disk space.... เพื่อกำหนดให้โปรแกรมนี้ทำงานเมื่อพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์เหลือน้อย ๆ จากนั้นก็กด OK หลังจากนี้ ถ้าหากฮาร์ดดิสก์ใกล้จะเต็ม โปรแกรมนี้ก็จะเริ่มต้นทำงานทันที
ก็พอเป็นแนวทางคร่าว ๆ นะครับ ที่จริงก็ไม่จำเป็นเท่าไรนัก แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าการที่เราเข้าไปลบไฟล์ใน Folder ต่าง ๆ โดยตรงซึ่งบางครั้ง การลบไฟล์แบบนั้น อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ของ Windows ตามมาก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

WiMAX Technology


คลื่นลูกใหม่ของโลกไร้สายที่กำลังจะมาถึง



เมื่อการเชื่อมโยงแบบไร้สายเป็นทางเลือกที่เพิ่มมูลค่าขึ้นได้อย่างรวดเร็วดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ไม่อาจกางกั้นไฟแห่งแรงปรารถนาของมนุษยชาติ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นโครงข่ายสื่อสารที่โยงใยผู้คนทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน การสื่อสารไร้สายความเร็วสูงที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ถูกวิวัฒนาการขึ้น ให้ผู้คนโลดเล่นไปเฉกเช่นจินตนาการของโลกแห่งเวทมนต์ ก็เพียงแต่คุณอยู่หน้าจอ ก็สามารถเดินทางรอนแรมท่องเที่ยวไปทั่วโลกได้แค่ชั่วพริบตา...



ในยุคแรกของการนำเอาเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาใช้งานนั้นมักจะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) ซึ่งเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในอาคาร 2 แห่งเข้าด้วยกันเพื่อให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ซึ่งต่อมาการใช้งานรูปแบบนี้มีข้อจำกัด จึงได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อในอีกรูปแบบหนึ่งขึ้น โดยเป็นการเชื่อมต่อแบบจุดหนึ่งไปหลาย ๆ จุดได้ (Point-to-Multipoint) ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สามารถให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้กว้างขึ้น ซึ่งในแง่ของธุรกิจแล้วนั้นให้ความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า ดังนั้นระบบบรอดแบนด์ไร้สายจึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถขยายพื้นที่ในการให้บริการบรอดแบนด์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังใช้งบประมาณในการลงทุนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการติดตั้งระบบบรอดแบนด์แบบใช้สายอย่างโครงข่ายใยแก้วนำแสงที่ต้องมีการลากสายและติดตั้งท่อร้อยสายใต้ดินรวมถึงจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้ในการใช้บริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงในราคาประหยัดอีกด้วย


สำหรับการเติบโตของบรอดแบนด์ทั่วโลกโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียนั้นได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะยังคงเติบต่ออย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูงมากกว่า แต่เทคโนโลยีเก่าอย่าง Dial-Up ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและสื่อแบบมัลติมีเดียที่เป็นการสื่อสารทั้งสัญญาณภาพ เสียงและข้อมูลได้ ดังนั้นจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ลงทุนต่ำและเป็นเทคโนโลยีซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นส่วนขยายของบริการฮอตสปอทหรือการบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงไปยังจุดซึ่งโครงข่ายใยแก้วนำแสงไม่ได้ครอบคลุมถึงตลอดจนเป็นส่วนขยายไปยังผู้ใช้ ปลายทางหรือที่เรียกว่า Last Mile ของเทคโนโลยีแบบมีสายอื่นๆ




WiMAX คืออะไร ?

WiMAX เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่า จะถูกนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้ โดย WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยี
บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่ง
มีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็
ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว

โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ
Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี


จากจุดเด่นของการทำงานของ WiMAX ข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถตอบสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกล ที่สายเคเบิ้ลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบาย และประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้วได้ เนื่องจากไม่ต้อง
ลงทุน ขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น WiMAX หรือบรอดแบนด์ไร้สาย มาตรฐาน IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้ ้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้ การใช้งานภาพ (video) หรือการใช้งานเสียง (voice) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเก่า (low-latency network) อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (privacy) ซึ่งต้องได้รับอนุญาต (authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบน มาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น
ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้เราสามารถนำ WiMAX ไปประยุกต์เพื่อลดช่องว่างของ เทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนองความต้องการ การใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ใช้งานกันอยู่


สำหรับมาตรฐานของเทคโนโลยี WiMAX ที่มีการพัฒนาขึ้นมาในขณะนี้นั้น มีดังต่อไปนี้
IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 – 4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรอง
รับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา ( NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 รายและการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 – 4.8 กิโลเมตร มีระบบที่ช่วยช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม

เครื่องลูกข่ายต้นแบบสำหรับใช้งานกับเทคโนโลยี WiMAX



แผนภาพระบบ WiMAX

รูปแบบการใช้งาน WiMAX ในส่วนต่าง

ระบบบรอดแบนด์ตามความต้องการ (Broadband on-demand) สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMAX นั้น จะช่วยให้เหล่าโอเปอเรเตอร์ต่างๆ สามารถจัดสรรงานบริการที่มีความเร็วสูงเทียบเท่าระบบเครือข่ายแบบใช้สายได้ โดยใช้เวลาการติดตั้งที่น้อยกว่า มีราคาที่ถูกกว่ามาก นอกจากนั้น WiMAX ก็ยังช่วยให้มีการจัดเตรียมการใช้งานระบบสื่อสารความเร็วสูงในรูปแบบตามความต้องการได้ในทันทีทันใด โดยรูปแบบนี้เหมาะสำหรับการทำงานในแบบชั่วคราว อาทิเช่น การจัดนิทรรศการ การจัดงานงานประชุม การจัดงานแสดงสินค้า เป็นต้น

ระบบการสื่อสารบรอดแบนด์สำหรับที่พักอาศัย ขณะที่เทคโนโลยีการใช้งานสายเคเบิลและเทคโนโลยี DSL ที่ถูกใช้งานในปัจจุบันนั้นมีช่องว่างในการใช้งานมาก ด้วยข้อจำกัดของการวางโครงข่ายที่มีอยู่และต้นทุนของการวางระบบ ทำให้ไม่สามารถให้บริการกับผู้ที่ต้องการใช้งานจำนวนมากซึ่งต้องการระบบการสื่อสารระดับบรอดแบนด์ได้ แต่ข้อจำกัดเหล่านี้จะถูกทลายลง เมื่อมีการเปิดตัวระบบที่อ้างอิงกับมาตรฐาน WiMAX ออกมา โดยแอพพลิเคชันสำหรับการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX จะช่วยให้สามารถพัฒนางานต่างๆ ที่สนองตอบความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในรูปแบบต่างๆ ได้

พื้นที่ซึ่งบริการเข้าไม่ถึง นับว่าเทคโนโลยีระบบการสื่อสารอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่ได้อ้างอิงกับมาตรฐาน WiMAX นี้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกล ในเขตที่มีข้อจำกัดของการเดินสายนำสัญญาณในระบบ DSL
บริการการสื่อสารแบบไร้สายคุณภาพสูง มาตรฐานIEEE 802.16e ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมของ IEEE 802.16a นั้นเป็นคุณสมบัติแบบพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานในแบบที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับอุปกรณ์ในแบบพกพาสำหรับการเดินทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
การส่งสัญญาณแบบ Cellular Backhaul ด้วยแบนด์วิดท์การใช้งานของ WiMAX ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ จึงทำให้มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการที่จะนำมาใช้งานให้รองรับการส่งสัญญาณในแบบย้อนกลับไปยังสถานีฐานระบบเซลลูลาร์ ซึ่งมีการติดต่อสื่อสารกันในแบบจุดต่อจุดได้


WiMAX มีอะไรใหม่ ๆ ที่โดนใจบ้าง ?



เรื่องของความเร็ว สำหรับ WiMAX นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลมากถึง 30 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทั้งก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องของสัญญาณสะท้อนอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว สถานีฐาน(Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในระหว่างความเร็ว และระยะทางได้อีก ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการใช้เทคนิคในแบบ 64 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) ไม่สามารถรองรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ การเปลี่ยนไปใช้ 16 QAM หรือ QPSK (Quadarature Phase Shift Key) ซึ่งจะช่วยเพิ่มระยะทางการในการสื่อสารให้มากขึ้นได้

การบริการที่ครอบคลุม นอกจาก WiMAX จะใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่ให้ความคล่องตัวในการใช้งานสูง และเปี่ยมประสิทธิภาพแล้ว มาตรฐาน IEEE 802.16a ก็ยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีซึ่งขยายพื้นที่การให้บริการให้กว้างขวางมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศแบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มอัตราความเร็วของการรับส่งสัญญาณที่ให้สมรรถนะในการทำงานน่าเชื่อถือสูง

ความสามารถในการขยายระบบ: WiMAX นั้นมีความสามารถในเรื่องการรองรับการใช้งานแบนด์วิดท์, ช่องสัญญาณ สำหรับการสื่อสารได้ด้วยความยืดหยุ่น โดยสามารถปรับให้สอดคล้องกับแผนการติดตั้งเซลล์ในย่านความถี่ที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือ ย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก อาทิเช่น ถ้าโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการนั้นได้รับคลื่นความที่ 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็สามารถที่จะทำการแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละส่วนได้อีกด้วย

การจัดลำดับความสำคัญของงานบริการ (QoS - Quality of Service) สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMAX นี้ มีคุณสมบัติด้าน QoS (Quality of Service) ที่รองรับการทำงานของบริการสัญญาณเสียงและสัญญาณวิดีโอ ซึ่งต้องการระบบเครือข่ายที่ไม่สามารถทำงานด้วยความล่าช้าได้ บริการเสียงของ WiMAX นี้ อาจจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Multiplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอเรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานต่างๆ อาทิ สำหรับบริการให้องค์กรธุรกิจ, ผู้ใช้งานตามบ้านเรือน เป็นต้น

ระบบรักษาความปลอดภัย นับเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งอยู่ในมาตรฐาน WiMAX ที่จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย
รูป wimax_logo-1.gif?
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาตรฐาน WiMAX นั้น มีองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Nokia, Intel, Proxim, Fujitsu, Alvarion ฯลฯ ที่มีชื่อเรียกกันว่า WiMAX Forum ขึ้น เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทำหน้าที่ทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐานไร้สายระบบใหม่ ทั้งนี้มาตรฐาน IEEE 802.16 จะถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่า WiMAX เช่นเดียวกับที่มาตรฐาน IEEE 802.11 เคยได้รับการรู้จักในชื่อ Wi-Fi มาแล้ว

บทสรุป
แม้ว่าในขณะนี้ WiMAX จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ WiMAX ก็ถือว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีอนาคตสดใส เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี และหากมองถึงประโยชน์ในการขยายเครือข่ายบรอดแบนด์ให้เข้าถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลแล้ว ผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทุกคนที่จะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงอย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการช่วยสร้างรายได้และโอกาสทางการตลาดให้กับเหล่าโอเปอเรเตอร์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย รวมทั้งบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยี WiMAX อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับที่ Wi-Fi ประสบความสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้





Cover Story เรื่องอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันแม่



11 วิธีเอาใจแม่ (ให้ชื่นใจ)



1.พาแม่ไปตรวจสุขภาพ

คนเราเมื่อเริ่มสูงวัยพอสักอายุ 50 กว่าปีขึ้นไปแน่นอนว่าสุขภาพร่างกายจะเริ่มเสื่อม เหมือนรถที่ผ่านการใช้งานมาสัก 5-6 ปี ก็ต้องมีการซ่อมบำรุง ร่างกายก็เหมือนกัน ดังนั้นการได้ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะพอให้เราทราบได้ว่าคุณแม่เป็นโรคอะไรอยู่ มากน้อยแค่ไหน จะดูแลสุขภาพต่อไปอย่างไร การพาคุณแม่ไปตรวจสุขภาพประจำปีนอกจากจะทำให้คุณแม่ชื่นใจแล้ว ยังส่งผลดีกับสุขภาพกายอีกด้วย


2.พาแม่ไปทำสปา

การทำสปาถือว่าเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้ธุรกิจสปามีมากมายหลากหลาย ทั้งสปาเพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งนวดหน้า นวดศีรษะ นวดตัว นวดเท้า ทั้งแบบนวดไทยหรือนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยแบบฝรั่ง การทำสปาถือเป็นการปรนนิบัติร่างกายอย่างดีเยี่ยมเพราะการทำสปามีครบทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ช่วยให้ผ่อนคลายหายเครียด ถือเป็นการตอบแทนร่างกายที่เหนื่อยล้ามาทั้งปีได้เป็นอย่างดี การพาคุณแม่ไปทำสปาจึงนับได้ว่าเป็นอีกรูปแบบของการให้ความสุขกับคุณแม่


3.พาแม่ไปเที่ยวต่างประเทศ

การเดินทางถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ได้เป็นอย่างดี แต่ผู้ใหญ่มักจะเสียดายเงินไม่จ่ายค่าตั๋วแพงๆ ไปเที่ยวต่างประเทศ การได้เดินทางไปยังสถานที่ที่แตกต่างออกไป บรรยากาศหนาว อาหาร ผู้คน ที่ต่างไปจากเดิมจะสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดีรวมถึงการพาไปดูสถาปัตยกรรมและร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่เป็นที่รู้จัก นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีซึ่งถือว่าเป็นโอกาสพิเศษที่คุณแม่จะได้รับ


4.พาแม่ไปดูโชว์ดีๆ

ปัจจุบันนี้มีการแสดงดีๆ ที่เป็นของคนไทยอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นการแสดงหุ่นละครเล็กของคณะโจหลุยส์ การแสดงของสยามนิรมิต การแสดงของโรงละครอลังการที่พัทยา หรือการแสดงของภูเก็ตแฟนตาซี หรือละครเพลงต่างๆ ที่เรียกได้ว่าคุณภาพดีทั้งแสง สี เสียง หรือจะเป็นการแสดงจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นนักร้องดังในยุคคุณพ่อคุณแม่ยังหนุ่มสาว การแสดงกายกรรมต่างๆ เช่น กายกรรมกวางเจา การแสดงบัลเลต์ ซึ่งการแสดงในลักษณะนี้จะมีเพียงปีละครั้งหรือ 2-3 ปีครั้งถือว่าเป็นโอกาสพิเศษที่ได้มอบให้คุณแม่ ถือว่าเป็นการพาคุณแม่ไปย้อนอดีตอันน่าชื่นใจ


5.ซื้อหนังสือดีๆ ให้แม่

ขณะนี้ตลาดหนังสือของประเทศไทยเรา มีการพัฒนาไปมากทั้งรูปเล่มและเนื้อหา มีหนังสือรูปเล่มสวยๆ เนื้อหาดีๆ ทั้งเรื่องแปล เรื่องแต่งเอง แม้กระทั่งหนังสือภาพดีๆ ที่มีอยู่หรือหนังสือชุดที่มารวมเล่มใหม่ที่ทำรูปเล่มคลาสสิกน่าเก็บไว้สะสม เช่น ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ดี เพชรพระอุมา หรือหนังสือพระหรือสถานที่สำคัญต่างๆ ที่พิมพ์สี่สีน่าสะสมอีกมากมายหนังสือต่างๆ เหล่านี้จะช่วยสร้างความสุขใจให้คุณแม่ได้ไม่น้อยทีเดียว


6.เปลี่ยนฟันชุดใหม่ให้แม่ได้รับประทานของอร่อยอย่างไร้อุปสรรค

หากคุณแม่อยู่ในวัยเกิน 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในวันที่ต้องใส่ฟันปลอม หรือถ้าอาวุโสกว่านั้นก็อาจจะต้องเปลี่ยนฟันปลอมเป็นชุดที่ 2 หากคุณพ่อคุณแม่มีปัญหาเรื่องปากและฟันก็มักจะมีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร หรือรับประทานอาหารได้ไม่อร่อย หรือถ้าเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก็จะมีปัญหาในเรื่องระบบการย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อได้โดยง่ายมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก การได้เปลี่ยนฟันชุดใหม่จะช่วยให้ชีวิตท่านดีขึ้น แต่โดยธรรมชาติของพ่อแม่มักจะขี้เหนียวเสียดายเงินไม่ยอมเปลี่ยนอะไรง่ายๆ หากสิ่งของนั้นยังพอใช้งานได้ การแสดงออกซึ่งความรักหวังดีต่อพ่อแม่ด้วยวิธีนี้นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อยถือว่าคุณลูกใส่ใจในรายละเอียดในชีวิตของท่าน


7.ซื้อคอร์สออกกำลังกายให้แม่

เป็นธรรมดาของมนุษย์เมื่อเริ่มอายุมากก็มักจะมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเพิ่มขึ้นว่ากันว่าโดยธรรมชาติของคนนั้นน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างน้อยปีละ 2 กิโลกรัม เมื่อน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือที่เรียกว่าอ้วนก็จะทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมาเช่น ปวดขา ปวดเข่า ไขข้อไม่ดี เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก การออกกำลังกายจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพของพ่อแม่


8.ซื้อเครื่องประดับให้แม่

ผู้หญิงกับเครื่องประดับเป็นของคู่กัน ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน อายุเท่าใด ถือว่ายังต้องใช้กันอยู่เสมอ หากคุณแม่ยังอยู่ในวัยทำงาน การซื้อเครื่องประดับเก๋ๆ คุณภาพดี เพื่อให้คุณแม่ใช้ใส่ไปทำงานก็เป็นเรื่องที่ดี หากคุณแม่เป็นแม่บ้าน หรือเกษียณแล้วนานๆ ออกงานทีการซื้อเครื่องประดับเป็นอัญมณีมีค่าหรือจะเป็นทองรูปพรรณก็ได้เช่นกันเลือกในแบบที่เหมาะสมกับบุคลิกและการใช้งานของคุณแม่ หากไม่ชอบของสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายทั่วไป ร้านจิวเวลรีหลายร้านก็รับทำและออกแบบให้ด้วย โดยอาจจะเลือกอัญมณีสีที่เข้ากับวันเกิดหรือเดือนเกิดของคุณแม่ก็ได้ ภายใต้งบประมาณที่คุณสามารถกำหนดได้และในอนาคตสมบัติเหล่านั้นก็จะต้องตกมาเป็นของลูกของหลานอยู่ดีไม่ได้สูญหายไปไหน ยิ่งนานวันอัญมณีเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มคุณค่าทั้งราคาและคุณค่าต่อจิตใจ


9.ซื้ออาหารเสริมเพื่อบำรุงสุขภาพให้

สุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นบางครั้งการรับประทานอาหารก็ไม่สามารถกินได้ครบ 5 หมู่ได้ในวัยผู้ใหญ่ที่ต้องการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว การได้รับอาหารเสริมอาจเป็นเรื่องที่สำคัญ เดี๋ยวนี้อาหารเสริมมีมากมายที่จะให้เลือกได้ตามความเหมาะสมกับสุขภาพ เช่น น้ำมันจากกระดูกปลาวาฬช่วยบำรุงผิวพรรณเพราะผู้สูงวัยมักจะผิวแห้งมาก วิตามินบีรวมต่างๆ หรือวิตามินบำรุงสมองเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อม ซึ่งวิตามินบางตัวจะช่วยชะลอระยะเวลาในการเกิดให้ช้าลง เรียกว่ามีมากมายหลากหลายประเภทให้คุณเลือกได้อย่างไม่มีข้อจำกัด


10.ตัดแว่นตาใหม่ให้แม่

สำหรับผู้ที่วัยเกิน 40 ปีขึ้นไปเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา บางคนตายาว บางคนทั้งสั้นทั้งยาว แถมเอียงเข้าไปด้วย เรียกว่าปัญหาหลายด้าน การให้ความใสกระจ่างกับสายตาของแม่ ให้แม่ได้อ่านหนังสืออย่างชัดเจนมีความสุข มองดูหน้าลูกหลานด้วยความใสชัด จะทำให้คุณแม่ชื่นใจ เดี๋ยวนี้กรอบแว่นราคาแพง ผู้ใหญ่จะใช้จนเก่าก็จะยังไม่ยอมเปลี่ยนใหม่การหาแว่นกรอบสวยๆ เก๋อันใหม่ให้คุณแม่ ก็น่ารักดีไม่น้อย เวลาท่านเดินเหินไปไหนจะได้สะดวกถ้าสายตาฝ้าฟางไม่ชัดเจนประเดี๋ยวจะพลาดพลั้งหกล้มได้โดยง่าย

11.ลดละเลิกนิสัยแย่ๆ ที่แม่ไม่ชอบ

ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก แน่นอนว่าลูกเกือบทุกคนมักจะมีนิสัยไม่ดีสักข้อสองข้อที่แม่จะพยายามพร่ำสอนตั้งแต่เด็กที่เป็นนิสัยเสียๆ ของเรา เช่น ขี้เกียจ ชอบเถียงแม่ ใช้เงินเปลือง สูบบุหรี่ กินเหล้า เจ้าชู้จัด แล้วเราจะรู้ดีว่านิสัยแบบนี้แม่ไม่ชอบ ลองให้ของขวัญวันแม่ปีนี้ด้วยการจะเลิกบุหรี่ เลิกเหล้าเลิกใช้เงินเปลือง หยุดโต้เถียงกับแม่สักที นิสัยเหล่านี้ถ้าเราทำให้แม่ได้รับรองได้ว่าแม่จะชื่นใจสุดชีวิตทีเดียว


ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วลองเลือกทำให้แม่สักข้อสองข้อจะดีไม่น้อย แม่ให้เรามาเยอะแล้ว ลองเปลี่ยนเป็นเราเป็นผู้ให้แม่บ้างดีไหมค่ะ แม่จะได้ชื่นใจ ถึงวันนี้คนรุ่นแม่ก็อยู่ในวัย 50-60 กว่าปีกันแล้วทั้งนั้น เวลาของท่านเหลือน้อยแล้วเรียกว่าเริ่มนับถอยหลังแล้ว อะไรทำให้แม่ได้ก็รีบๆ ทำเสียเถอะ ชีวิตนี้ก็มีแม่แค่คนเดียว อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง มีแม่ให้รักให้กอดก็ดีแล้ว

ต่อไปถ้าอยากบอกรักแม่ แต่แม่ไม่ได้อยู่ให้บอกแล้วจะเสียดายเวลานะคะต้องไปบอกแม่ต่อหน้ารูปของท่านคงไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว ที่สำคัญความกตัญญูรู้คุณเป็นสิ่งที่ค้ำชูชีวิตของลูกให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ อย่าลืมบอกรักแม่กันบ้างนะคะ

;yoc,j

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551


วันนี่..ยูมิมีเรื่องดีดีมาบอกน่ะ

สำหรับสาว.....สาว

เลยละ ลองอ่านกานดู



การที่คนเราจะตัดสินใจคบกับใครสักคนนั้นอย่างจริงจังนั้น ก็เท่ากับว่าเราอยากที่จะเป็นคนที่รู้ใจเขาที่สุด แต่สาว ๆ พึงระวังพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะหนุ่ม ๆ เค้าเห็นว่าไม่เวิร์ค


โทรจิกได้ทุกทีที่ผมอยู่คนเดียว ประมาณว่าถ้าแยกจากกันเมื่อไหร่เป็นต้องโทรมาถามว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไร อยู่กับใคร รายไหนที่หนักหน่อยก็อาจจะมีถึงขั้นให้คนรอบข้างมายืนยัน อันนี้ไม่ไหว ไม่ได้อยากมีแม่เพิ่มนะครับ


เลิกซะทีกับคำตอบ "แล้วแต่ค่ะ"เพราะว่ามันเป็นกลางเกินไป การที่คุณอยากจะเอาใจเขาด้วยการยอมตามเขาทุกอย่างมันก็ไม่ใช่เรื่อง เพราะบางครั้งเขาก็ไม่ได้อยากรู้สึกเหมือนคุยกับหุ่นยนต์นะจ๊ะ ทางที่ดีถามอะไรก็ออกความคิดเห็นบ้างก็ดี


บ้าช้อปไม่ลืมหูลืมตา ไม่ว่ามีของขายที่ไหนก็ขอให้คุณได้ไปกับเขาด้วยเถอะ แถมยังเป็นพวกความสามารถพิเศษช้อปได้ตั้ง 10 โมงเช้ายัน 3 ทุ่มครึ่งคุณก็ไม่หวั่น ซึ่งอันนี้หนุ่ม ๆ เขารับไม่ค่อยจะได้อ่ะนะ แหม ..... ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าหนุ่ม ๆ น่ะเขาไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ไอ้เรื่องช้อปปิ้งเนี่ย (ถ้าไม่หนุ่มก็ว่าไปอย่าง)



อย่าคาดหวังกับเรื่องโรแมนติกให้มากจนเกินไป จริงอยู่ที่ว่าผู้ชายบางคนก็แสนจะโรแมนติกรู้จักเอาใจผู้หญิงของเขาด้วยวิธีการแสนน่ารักต่าง ๆ นานา แต่ก็แค่บางคนเท่านั้น ไม่ใช่ว่าผู้ชายจะเป็นเหมือนกันหมดซะเมื่อไหร่ ดังนั้นสาว ๆ อย่าคาดหวังให้เขาโรแมนติกเกินไปนัก เพราะพวกเขาคิดว่าถ้ามันมาจากใจของเขามันจะดีกว่าที่เขาต้องทำเพราะคุณอยากให้เขานะ


ขี้บ่นได้ทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องไม้จิ้มฟันยันเรื่องระดับชาติ ยิ่งบ่นตอนที่นั่งอยู่บนรถด้วยกันหนุ่ม ๆ ยิ่งเซ็งไปกันใหญ่ เพราะเวลาขับรถเขาเองก็ต้องการสมาธิเหมือนกัน แค่ขับรถอย่างเดียวก็แทบจะไม่ไหวแล้วนี่ยังจะต้องให้เขามานั่งทนคุณบ่นด้วยหรือนี่



คนล้มอย่าข้าม เขาทำผิดก็อย่าซ้ำเติมกันนักเลย จริงอยู่ที่ว่าผู้ชายเป็นประเภทเชื่อมั่นในความคิดตัวเองสูง บางครั้งการที่เขาจะทำอะไรสักอย่าง เขาจึงเดินหน้าอย่างไม่มีถอยแม้ว่าคุณจะเคยเตือนเขาแล้วก็ตาม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เขาพลาดแล้วคุณยิ่งไปซ้ำเติมเขาว่า เห็นมั้ยล่ะ บอกแล้วไม่เชื่อ เป็นไงได้เรื่องเลย หรืออะไรประมาณนี้ แม้ว่ามันอาจจะดูไม่แรงสำหรับคุณ แต่สำหรับคนในอารมณ์นั้น มันก็แรงเอาเรื่องอยู่นะคะ


สาว ๆ อ่านแล้วก็พยายามลด ละ ซะนะจ๊ะ เพราะบางอย่างนอกจากมันจะทำให้หนุ่ม ๆ เซ็งแล้ว มันยังทำให้คุณดูไม่ดีด้วย (ขี้บ่นไง) รีบกลับตัวซะก่อนที่หนุ่ม ๆ จะหนีหน้าไปกันหมดนะจ๊ะ

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันนี้ ยูมิมีความรู้เกี่วยกับคอมพิวเตอร์มาฝากน่ะ......ลองอ่านกันดู





เมนบอร์ด



เมนบอร์ดคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (ในรูป ASRock KT400A)


เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard) เป็น
แผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์
สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง, ไบออส และหน่วยความจำหลัก พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้ทั้งอุปกรณ์เสริมภายในและอุปกรณ์เสริมเชื่อมต่อจากภายนอก
ในบางประเทศ โดยเฉพาะใน
โฆษณาขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นิยมใช้ศัพท์แสลงเรียกเมนบอร์ดว่า mobo (โมโบ) โดยเป็นคำย่อจาก motherboard

รูปแบบ


PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM
AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX
ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมจวบจนยุคปัจจุบัน
ETX ใช้ใน embedded systems
LPX ถูกออกแบบโดย Western Digital
BTX (Balanced Technology eXtended) เป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่ที่ถูกนำเสนอโดย Intel
Mini-ITX (VIA Epia)ถูกออกแบบโดย VIA
WTX (Workstaion Technology eXtended) เป็นเมนบอร์ดสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่






เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด"ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ


ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
ชิปเซ็ต (Chip set)
ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
ระบบบัสและสล็อต
Bios
สัญญาณนาฬิกาของระบบ
ถ่านหรือแบตเตอรี่
ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
ขั้วต่อ IDE
ขั้วต่อ Floppy disk drive
พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
พอร์ต USB




การพิจารณาคุณสมบัติของเมนบอร์ด

ประเด็นสำคัญในการเลือกเมนบอร์ดที่ดีในปัจจุบันคือสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี่


Form Factors หมายถึงลักษณะโครงสร้างของเมนบอร์ด ทั้งรูปร่างและขนาด ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบที่เรียกว่า AT หรือไม่ก็แบบ Baby AT (คือ AT ที่ลดความยาวลงมาในขณะที่ความกว้างเท่าเดิม) ส่วนมาตรฐานใหม่คือ ATX ซึ่งเป็น Baby AT ที่กลับทางจากเดิม คือมีการวางแนวสล็อตและหน่วยความจำใหม่ให้อยู่ใกล้ ๆ กันจะได้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีไม่มีปัญหา รวมทั้งการระบายความร้อนก็ดีขึ้นเนื่องจากกำหนดให้อยู่ใกล้กับแหล่งจ่ายไฟทีมีพัดลมอยู่ (ตัวเครื่องหรือ Case ก็จะต้องเป็นแบบ ATX ด้วยจะใส่กันได้ลงตัว) รวมทั้งขั้วต่อแหล่งจ่ายไฟแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิมแนวโน้มในอนาคตจึงควรเลือกใช้เมนบอร์ดแบบ ATX โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับซีพียูความเร็วสูง ๆ


Bios ควรจะเป็น flash BIOS ซึ่งสามารถ upgrade ได้เสมอด้วยซอฟต์แวร์ โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิป


มีซอฟต์แวร์ สำหรับดาวน์โหลดมา Upgrade ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ เพื่อแก้ข้อผิดพลาดหรือเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่มีรองรับในระบบปฏิบัติการ เช่น ใน Windows 95 ยังไม่มีไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ UDMA (Ultra DMA) และ USB (Universal Serial Bus) ซึ่งเมนบอร์ดที่ดีควรจะมีไดรเวอร์เหล่านี้มาให้หรือให้ดาวน์โหลดได้ด้วย


มีคู่มือที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งทีสำคัญมากของเมนบอร์ด เพราะถ้าไม่มีก็แทบไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเลือกต่าง ๆ ได้เลย เมื่อต้องการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ เข้ามาหรือเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบต่างๆ เช่นเพิ่ม RAM หรือเปลี่ยนซีพียู (เพราะจะไม่สามารถกำหนดการทำงานให้ตรงกับที่ต้องการได้ทั่งนี้รวมถึงการ Overclock ด้วยนอกจากนี้ถ้าคู่มือมีรายการข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่แสดงด้วยเสียงก็จะยิ่งดีเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีมาตรฐานและจำเป็นสำหรับเวลาที่มีปัญหาเกิดขึ้นจะได้วิเคราะห์ได้ตรงจุด


มีข้อมูลสำหรับการ Upgrade เมนบอร์ด เพื่อให้สามารถใช้กับส่วนประกอบใหม่ ๆ ได้ เช่น เมื่อตอนเริ่มแรกอาจไม่รองรับ Pentium III เพราะยังไม่มีอยู่ แต่ในอนาคตควรจะมีวิธีปรับให้เหมาะสมได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ควรจะได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551



ประวัติความเป็มาของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย



เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทค



เครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย



ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมาย

เครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยม



การเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น
เนื่องจากในปัจจุบันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2540 เป็นต้นไป การใช้งานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระดับมหาวิทยาลัยของรัฐเริ่มจะอยู่ตัว และมีการใช้งานกว้างขวางมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายเส้นทางการสื่อสารให้กว้างขึ้นเป็น 64 Kbps เป็นอย่างน้อย ประกอบกับทางเนคเทค ได้รับเงินสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินลดลง จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ใช้ในเครือข่ายไทยสาร เพื่อหาแนวทางความร่วมมือกันออกค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อสู่อินเตอร์เน็ต โดยมหาวิทยาลัยจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการเชื่อต่อสมทบให้เนคเทคปีละ 240,000 บาท สำหรับการเชื ่อมต่อที่ความเร็ว 64 Kbps