วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

อินเตอร์เน็ต...คืออะไร

อินเตอร์เน็ตคืออะไร?

. . . . อินเตอร์เน็ต (internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ ที่เชื่อมต่อกัน ทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูล ระหว่างกัน เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร, ภาพและเสียงได้ รวมทั้งสามารถ ค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

. . . . จะเห็นได้ว่า อินเตอร์เน็ตประกอบด้วย องค์ประกอบ 2 ส่วน หนึ่งคือ เครือข่าย ที่เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และส่วนที่สอง คือ ข้อมูล ที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง เก็บเอาไว้ พร้อมกับมีความสามารถ ที่ช่วยให้เราค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ในเวลาอันสั้น อินเตอร์เน็ต จึงมีประโยชน์ สำหรับยุคสังคมข่าวสาร เช่นในปัจจุบันอย่างมาก เนื่องจาก ถ้าขาด สิ่งใดสิ่งหนึ่งไป อินเตอร์เน็ตก็แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย อย่างเช่น ถ้าเรามีแต่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียว แต่ขาดข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ หรือไม่สามารถค้นหาข้อมูล ที่ต้องการ จากเครือข่ายนั้นได้ เราก็ยังคง ไม่ได้อะไร จากเครือข่ายนั้น หรือในทางกลับกัน ถ้าเรามี ข้อมูลมหาศาล แต่มีข้อมูลไม่กี่เครื่องเท่านั้น ที่สามารถ เรียกใช้งาน ข้อมูลนั้นได้ เพราะขาด ระบบเครือข่ายที่ดี ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่ ก่อประโยชน์ให้เราเท่าที่ควร

. . . . สิ่งสำคัญอีกอันหนึ่งที่ควรกล่าวถึง ก็คือ อินเตอร์เน็ตมีมาตรฐาน การรับส่ง ข้อมูล ที่ชัดเจน และเป็นหนึ่งเดียว ทำให้การเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ คนละชนิด, คนละแบบ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น เมนเฟรมคอมพิวเตอร์, มินิคอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพีซี, แมคอินทอช หรือเครื่องแบบใด ๆ ก็ตาม ซึ่งโดย ทั่วไปแล้ว คอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครือข่ายหลัก ของอินเตอร์เน็ต มักจะเป็น เครือข่ายของมินิคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) และเครือข่ายของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ บางคนจึงเรียกอินเตอร์เน็ตว่าเป็น "เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์" (Network of Networks) ส่วนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งหลายนั้น มักจะ ไม่ได้ต่ออยู่กับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา เพียงแต่เชื่อมต่อเข้าไปเป็น ครั้งคราว ตามต้องการใช้งานเท่านั้น

. . . . อย่างไรก็ตาม ความหมายที่แท้จริงของอินเตอร์เน็ต คงกว้างขวางเกินกว่า ที่กล่าว ข้างต้นมากนัก เนื่องจากอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการ ปรับปรุงอยู่ ตลอดเวลา ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทั้งยังขึ้นอยู่กับ มุมมองของแต่ละคน ที่เป็นผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตอีกด้วย ผู้ใช้บางคน อาจมองว่าเป็น แหล่งข้อมูลบันเทิงมหาศาลในเรื่องต่าง ๆ เช่น รายการภาพยนตร์, การเลือกซื้อสินค้า, โปรแกรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ฯลฯ บางคนอาจมองว่าเป็น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ที่ไม่มีวันปิด ของทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะ เป็นทางด้านศิลปะ, วิทยาศาสตร์, กฎหมาย, สังคม และอื่น ๆ และบางคนอาจ มองว่า อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ให้ เข้าไปใช้งาน คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น จากระยะไกลได้ พร้อมกับรับส่งข้อความ กับผู้อื่น ผ่านที่จอหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ฯลฯ ความหมายเหล่านี้ ไม่มีใครผิด เพียงแต่เป็นมุมมอง เฉพาะบางด้าน ของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่จากคำตอบที่ว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่รับส่งข้อมูล ได้หลายรูปแบบ และมี ความสามารถที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลได้ ในเวลาอันรวดเร็วนี้ คงพอที่จะมองเห็น ภาพของอินเตอร์เน็ตได้กว้างขึ้น สำหรับบริการด้านต่าง ๆ ที่มีในอินเตอร์เน็ตนั้น จะกล่าวรายละเอียด ของแต่ละบริการในตอนต่อ ๆ ไป

------------------------------------------------------------------------------------

ทำไมต้องอินเตอร์เน็ต ?

. . . . ในสังคมยุคข่าวสารข้อมูลดังเช่นทุกวันนี้ การสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้น ให้คนเราสื่อสารถึงกันง่ายที่สุดและสะดวกที่สุด การสื่อสารถึงกันด้วยคำพูด ผ่านทางโทรศัพท์ เช่นในอดีต ย่อมไม่เพียงพออีกต่อไป เราต้องการมากกว่านั้น เช่น ภาพ, เสียงและข้อความที่เป็นตัวอักษร รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งอินเตอร์เน็ต เข้ามาตอบสนองเราได้ ในจุดนี้

. . . . เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เราสามารถติดต่อกับเพื่อน ของเรา ในสหรัฐอเมริกา ผ่านอิเล็กทรอนิกส์เมล์, ข้ามไปค้นหาข้อมูลที่ยุโรป แล้วก๊อปปี้ไฟล์ ไปที่ออสเตรเลีย ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือที่ทำงานเรา โดยใช้เวลาทั้งหมด เพียงไม่กี่นาที ความสะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยได้ทำมาก่อน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายของการใช้งาน ก็นับว่าถูกกว่าที่อื่น เมื่อเทียบกับการติดต่อ ทางโทรศัพท์, การส่งโทรสาร และการส่งข้อมูล ผ่านโมเด็มโดยตรง กับปลายทางแล้ว การใช้งานผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีค่าใช่จ่ายถูกกว่าหลายเท่า นี่เป็นเหตุผลหลักที่ว่า ทำไม่เราต้องใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งนับเป็นการปฏิวัติ สังคม ข่าวสาร ครั้งใหญ่ที่สุด ในยุคของเรา

. . . . การสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น มีความคล่องตัวเช่นเดียวกับ การใช้โทรสาร คือ ถ้ามีบริการโทรศัพท์เข้าไปถึง เราก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์ กับโมเด็ม ติดต่อเข้ากับ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้เสมอ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเปรียบเทียบการใช้งาน อินเตอร์เน็ต กับการบริการต่าง ๆ ในประเทศ เช่น โทรสาร, การส่งข้อมูลผ่านทางโมเด็ม อินเตอร์เน็ต อาจไม่เหมาะ หรืออาจมีค่าใช้จ่ายไม่ถูกกว่าบริการเหล่านั้น แต่ถ้ามองถึงความสามารถ ที่เพิ่มขึ้น ในแง่การติดต่อสื่อสารข้อมูลหลายรูปแบบเช่น ตัวอักษร , ภาพ และข้อมูล คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการติดต่อ ไปยังเครือข่ายในต่างประเทศแล้ว การใช้บริการผ่าน อินเตอร์เน็ต จะมีข้อได้เปรียบมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด และมีราคาสูง


--------------------------------------------------------------------------------

จุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต

. . . . ย้อนหลังไปในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐ อเมริกา ได้พัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เพื่อใช้ในทางทหารระบบหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติ แตกต่างจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือสามารถรับส่งข้อมูล ระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่พลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งข้อมูลบางส่วน จะเสียหายหรือถูกทำลายไปก็ตาม ระบบเครือข่ายนี้ มีชื่อเรียกว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมโยงกันด้วย สายส่งข้อมูล ที่แยกออกเป็นหลายเส้นทาง ประสานกันเหมือนร่างแห

. . . . เมื่อคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่ง ต้องการส่งข้อมูลไปให้อีกเครื่องหนึ่งใน ARPANET มันจะแบ่งข้อมูลออก เป็นส่วนย่อย ๆ แล้วทยอยส่งไปตามที่กำหนด โดยแต่ละชิ้นย่อยๆ นี้อาจไปคนละทางกัน แต่จะไปคนละทางกัน แต่จะไป รวมกันที่ปลายทางตามลำดับ ที่ถูกต้องตามเดิมได้ แต่ถ้าหากว่าในระหว่างทาง ข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่ง (packet) เกิดสูญหายหรือผิดพลาด อันเนื่องมาจาก สัญญาณรบกวนก็ดี หรือสายส่งข้อมูล และเครื่องมือคอมพิวเตอร์ ที่อยู่กลางทางเสียหาย หรือถูกทำลายก็ดี เครื่องคอมพิวเตอร์ ปลายทาง จะส่งสัญญาณกลับมาแจ้งให้คอมพิวเตอร์ต้นทางรับรู้ และจัดการส่งข้อมูล เฉพาะส่วนที่ขาดไปให้ใหม่โดยใช้เส้นทางอื่นแทน ด้วยวิธีนี้เราสามารถมั่นใจ ได้ว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปจะถึงปลายทาง อย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีบางส่วนของ เครือข่าย เกิดความเสียหายก็ตาม และเฉพาะข้อมูลส่วนที่เสียหายเท่านั้น ที่จะต้องส่งใหม่ ไม่ใช่ส่งใหม่ทั้งหมด ดังนั้น คอมพิวเตอร์เครือข่ายของ ARPANET จะสามารถรับส่ง ข้อมูลไปยังปลายทาง โดยใช้สายส่งข้อมูลเท่าที่เหลืออยู่ได้ และเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด ในขณะนั้น ให้พร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง การรับส่งข้อมูลได้ตลอดเวลา

. . . . ก้าวแรก ของ ARPANET ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เพียง 4 เครื่อง คือ คอมพิวเตอร์ของ มหาวิทยาลัยยูทาห์, มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย ที่ ซานตาบาบารา, มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัย ของมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด เมื่อมีการทดลองใช้งาน ARPANET จนได้ผล ที่น่าพอใจแล้ว กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ก็ได้ขยายเครือข่าย ARPENET ออกไป โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยอื่น ๆ รวม 50 แห่งในปี พ.ศ. 2515

. . . . เครือข่ายของ ARPANET ในขณะนั้น ใช้งานเพื่อ การค้นคว้า และวิจัยทางทหาร เป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้า กับเครือข่ายของ ARPANET จะมีมาตรฐาน การรับส่งข้อมูลอันเดียวกัน เรียกว่า Network Control Protrol (NCP) เป็นส่วนควบคุม การรับส่งข้อมูล, การตรวจสอบ ความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และเปรียบเสมือนตัวกลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน

. . . . อย่างไรก็ตาม NCP ที่ใช้ใน ขณะนั้น ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ มีข้อจำกัดในด้านจำนวน เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ขยายจำนวนเครื่อง คอมพิวเตอร์ออกไปมาก ๆ ไม่ได้ จึงได้เริ่มมีการพัฒนา มาตรฐานการรับส่ง ข้อมูลแบบใหม่ขึ้น

. . . . จนกระทั่งในปี พ.ศ.2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา เรียกว่า Transmission Control Protocol/Internet protocol หรือ โปรโตคอล แบบ TCP/IP ซึ่งถือว่า เป็นก้าวสำคัญที่ ARPANET ได้วางรากฐาน ไว้ให้กับอินเตอร์เน็ต เพราะจากมาตรฐาน รับส่งข้อมูลแบบ TCP/IP นี้ ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้
และนับเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยทีเดียว โปรโตคอล TCP/IP ได้รับ การยอมรับ อย่างกว้างขวางในปีถัดมา คือปี 2526 และถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบปฏิบัติการ UNIX เวอร์ชั่น 4.2

. . . . จำนวนคอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์ต ได้เพิ่มขึ้นจาก 236 เครื่องในปี 2525 มาเป็น 500 เครื่องในปี 2526 และเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 เครื่องในปี 2527

. . . . ต่อมา ในปี 2529 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ National Science Foundation (NSF) ของประเทศสหรัฐ อเมริกา ได้วางระบบเครือข่าย มาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNET ซึ่งประกอบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จำนวน 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และได้ใช้ โปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลเช่นกัน ทำให้การขยายตัวของเน็ตเวิร์ต เป็นไปอย่างรวดเร็ว

. . . . เนื่องจากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา มีความต้องการที่จะเชื่อมต่อ เข้ากับ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานซูเปอร์คอมพิวเตอร์คุ้มค่าที่สุด และสามารถแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกันได้ ประกอบกับการรับส่งข้อมูล ก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน จำนวนเครื่อง คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จึงเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 เครื่อง

. . . . นอกจาก ARPANET และ NSFNET แล้วยังมีเครือข่ายอื่น ๆ อีกหลายเครือข่าย เช่น UUNET, UUCP, BITNET, CSNET ซึ่งต่อมา ก็ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยมี NSFNET เป็นเครือข่ายหลัก เปรียบเสมือน กระดูกสันหลังหรือ backbone ของระบบ จำนวนเครื่อง คอมพิวเตอร์ ในเครือข่าย จึงได้เพิ่มเป็นกว่า 20,000 เครื่องในปี 2530 และก้าวกระโดด อย่างรวดเร็วเป็น 100,000 เครื่องในปี 2532

. . . . หลังจากที่ ARPANET ได้รวมเข้ากับ NSFNET แล้วในปี 2530 เครือข่ายก็ค่อย ๆ ลดบทบาทลง เนื่องจากการเปลี่ยนไปใช้ความสามารถของ NSFNET แทน จนกระทั่งในปี 2533 ก็เลิกใช้โดยสิ้นเชิง แต่จำนวนเครื่อง คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ก็ยังคงเพิ่มขึ้น แบบทวีคูณต่อไป และในปี 2534 ก็ได้มีการจักตั้งสมาคม CIX (Commercial Internet Exchange) ขึ้น โดยขณะนั้น มีเครื่องคอมพิวเตอร์รวมกว่า 600,000 เครื่องในระบบ และเมื่ออินเตอร์เน็ต มีอายุครบรอบ 25 ปี คือในปี พ.ศ. 2537 จำนวนเครื่อง คอมพิวเตอร์ ก็พุ่งขึ้นสูงกว่า 2,000,000 เครื่อง

. . . . ปัจจุบันประมาณกันว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ ทั่วโลกที่เชื่อมต่ออยู่ในอินเตอร์เน็ต มีเกือบสิบล้านเตรื่อง ที่ทำหน้าให้บริการ ข้อมูลข่าวสาร, รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ และมีคนใช้งานอินเตอร์เน็ต ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่ต่อเชื่อมเข้ามา ไม่ต่ำกว่าวันละหลายสิบล้านคน ทั้งหมดนี้คือ ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป ของอินเตอร์เน็ต จากจุดเริ่มต้นจนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน


-----------------------------------------------------------------------------------

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

.. . . . ตามที่กล่าวมาแล้วว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ครอบคลุม ไปทั่วโลก พร้อมกับมีข้อมูลมหาศาล ทุกประเภท ให้เราค้นคว้า และรับส่งข้อมูล ไปมาระหว่างกันได้ ในตอนนี้ จะขอยกตัวอย่างประโยชน์ ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ด้านต่าง ๆ ให้เห็นพอสังเขป

. . . . ในด้านการศึกษา เราต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ อินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุด ขนาดยักษ์ ส่งข้อมูลที่เราต้องการ มาให้ถึงบนจอคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงานของเรา ไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและอื่นๆ

. . . . อีกส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็คือ ประโยชน์การรับส่งข่าวสาร ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กตรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ได้โดยค่าใช้จ่ายต่ำมาก นอกจากนี้ ยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียง ได้อีกด้วย

. . . . สำหรับด้านธุรกิจและการค้า ช่วยในการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ เราสามารถเลือกดูสินค้า พร้อมคุณสมบัติผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเรา และสั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วย บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งนับว่าเป็นความสะดวกสบาย และรวดเร็วมาก สินค้ามีจำหน่าย ทุกประเภท เหมือนห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เลยทีเดียว

. . . . นอกจากนี้ ผู้ใช้ ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ หรือ สนับสนุน ลูกค้าของตน ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การตอบคำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คำแนะนำ รวมถึงข่าวสารใหม่ๆแก่ลูกค้าได้

. . . . ประโยชน์อินเตอร์เน็ต ที่ผู้ใช้กันมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง คือ ความบันเทิง และการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการ เช่น เลือกอ่านวารสารต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า magazine แบบ online รวมถึงหนังสือพิมพ์ และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ เหมือนกับหนังสือ ปกติที่เราดูอยู่กันทุกวัน

. . . . นอกเหนือจากประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมา ซึ่งล้วนแต่เป็นในมุมมอง ของผู้ใช้ข้อมูล หรือบริการทั่ว ๆ ไป แล้ว ในแง่ของผู้ให้ข้อมูล เช่น ผู้ผลิตสินค้า และบริการต่าง ๆ อินเตอเน็ตก็มีประโยชน์ตรงที่ เป็นช่องทางสำหรับ การเผยแพร่ข้อมูลของตนเอง ได้ในวงกว้าง ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ แถมยังสามารถเข้าถึง กลุ่มคนที่ใช้งานอินเตอร์เน็ต (ซึ่งนับได้ว่าเป็น"หัวกะทิ" ของกลุ่มลูกค้า เป้าหมาย ที่น่าจะมีกำลังซื้อมากพอสมควร) ได้โดยตรง การโฆษณาเผยแพร่ เรื่องต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต จึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเป็นช่องทาง
หรือเวทีในการแสดงความคิดเห็น ถกเถียงแลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่อง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ที่สามารถตอบโต้กันได้ ชนิดทันต่อเหตุการณ์ หรือความเปลี่ยนแปลง และค่อนข้าง จะเป็นอิสระ ต่อการควบคุม หรือกลั่นกรอง ขององค์กรหรือหน่วยงานในภาครัฐ ของแต่ละประเทศ

. . . . ว่ากันว่า ความล่มสลายของสหภาพโซเวียต หรือความเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก มีส่วนมาจาก ข่าวสารขอ้มูลของโลกภายนอก ที่ผ่านเข้ามาในบริเวณเหล่านั้น ผ่านทาง เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และรวมถึงอินเตอร์เน็ตด้วย อย่างไรก็ตาม ความง่าย ราคาถูก และรวดเร็วของโฆษณา เผยแพร่ทาง อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีผลในทางตรงกันข้าม กลายเป็นการ เปิดโอกาส ให้ใคร ๆ ก็สามารถเผยแพร่ขอ้มูล ในเรื่องที่ไม่ดีไม่งาม หรือให้ร้ายผู้อื่นได้โดยง่าย โดยลงทุนลงแรงเพียงเล็กน้อย แถมยังมีผล ในวงกว้างไปทั่วโลกอีกด้วย